The Prachakorn

การปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมในอดีต


รัศมี ชูทรงเดช

03 มิถุนายน 2563
433



บทสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานวิจัยโบราณคดีเชิงพื้นที่ระยะยาวบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน งานวิจัยได้บูรณาการศาสตร์ต่างๆ เช่นโบราณคดี มานุษยวิทยากายภาพ ชาติพันธุ์วิทยาทางโบราณคดี วงปีไม้ ธรณีวิทยา เคมี อณูพันธุศาสตร์ (ดีเอ็นเอ) โบราณสัตววิทยา ประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม ศิลปะ ฯลฯ เพื่อศึกษาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมในอดีต ที่ส่งผลต่อการปรับตัวในป่าเขตร้อนแบบฤดูกาล ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ทรัพยากร การเคลื่อนย้ายของคนและสัตว์ การตั้งถิ่นฐาน ภูมิปัญญาด้านเทคโนโลยี สุขภาพ ความเชื่อ และความตาย ผลงานวิจัยได้มีคุณูปการที่สำคัญต่อการสร้างองค์ความรู้และเครือข่ายชุมชนทางวิชาการ และสาธารณะในระดับท้องถิ่น ประเทศ และนานาชาติ อดีตสามารถเป็นเครื่องมือที่มีพลังในการสร้างความเข้าใจและความรับรู้เกี่ยวกับพลวัตความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมให้กับสังคมปัจจุบัน เพื่อความยั่งยืนของอนาคต

Facebook Link: https://www.facebook.com/255818394487885/videos/540769679910677



CONTRIBUTOR

Related Posts
COVID-19 โรคเปลี่ยนโลก

ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th