The Prachakorn

อุบัติเหตุจราจรในประเทศไทย


กาญจนา เทียนลาย

08 เมษายน 2561
233



ปัจจุบัน เรามักจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับอุบัติเหตุจราจรถี่กว่าเดิม แม้ว่าหน่วยงานภาครัฐเพิ่มมาตรการเพื่อการรณรงค์อย่างเข้มข้นแล้วก็ตาม และล่าสุดข่าวอุบัติเหตุ “เมาแล้วขับ” ชนนักปั่นจักรยานตาย แต่คนเมาไม่ตาย จนมีผู้ร่วมอุดมการณ์นักปั่นจักรยานจำนวนมากออกมาประท้วงแบบสันติ ตามที่เป็นข่าวในสื่อต่างๆ

จากข้อมูลอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทย ปี 2556 พบว่ามีผู้เสียชีวิต 14,789 คน บาดเจ็บเฉลี่ยวันละ 2,739 คน เฉลี่ย
ผู้เสียชีวิตวันละ 40 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 1.6 คน ซึ่งยานพาหนะที่เป็นสาเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดคือ รถจักรยานยนต์ รองลงมาคือ รถยนต์ สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ อันดับแรกคือ เมาสุรา รองลงมาคือ การขับรถเร็วกว่ากำหนดนั่นเอง1

สังคมไทยควรกลับมาให้ความสนใจว่า จะจัดการกับปัญหา “เมาแล้วขับ” อย่างไร จึงจะมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างการแก้ปัญหาของประเทศญี่ปุ่นที่ใช้นโยบาย “โทษหนัก-บังคับเข้ม” (เก็มบัทซึขะ) มีผลทำให้จำนวนผู้เสียชีวิต
ลดลงทุกปี จาก 1,191 ราย ในปี 25442 จนเหลือเพียง 227 ราย เมื่อปี 2557 “กรณีเมาแล้วขับ แต่ไม่มีคนตาย จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านเยน” “กรณีเมาแล้วขับ ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย แล้วหนีโดยที่ไม่อยู่ช่วยเหลือ (Hit and Run) จำคุกไม่เกิน 30 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านเยน”3


สถิติอุบัติเหตุจราจรในประเทศไทย. 15 ธันวาคม 2557. ค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2558. สืบค้นจาก http://www.ddd.or.th/content-view-3096.html.

“รายงานพิเศษ” ถอดบทเรียนญี่ปุ่นเพิ่มโทษเมาแล้วขับ “จำ-กักขัง” แทนรอลงอาญา. 16 เมษายน 2558. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2558. สืบค้นจาก
  http://www.thairath.co.th/content/493240.

3  “โทษหนัก-บังคับเข้ม” วิธีที่ญี่ปุ่นสู้กับเมาแล้วขับ. พิเชษฐ เมาลานนท์ และนิลุบล ชัยอิทธิพรวงศ์. ศูนย์วิจัยญี่ปุ่นร่วมสมัย มหาวิทยาลัยรังสิต.  5 พฤษภาคม 2558.              

 


Tags :

CONTRIBUTOR

Related Posts
Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th