The Prachakorn

10 เรื่องต้องใส่ใจ บ้านสำหรับผู้สูงอายุ


เพ็ญพิมล คงมนต์

16 เมษายน 2561
254



ภาพโดย: http://www.applicadthai.com/art-inspire/ออกแบบบ้านเพื่อผู้สูงอายุ

“ผู้สูงอายุ” เป็นหนึ่งในสมาชิกที่อาศัยอยู่ร่วมกันในครอบครัว ที่ต้องการการดูแลมากกว่าคนในวัยอื่นๆ ทั้งทางสภาพร่างกายและจิตใจ ทางจิตใจเราสามารถดูแลท่านโดยการให้ความรักความเอาใจใส่สำหรับทางร่างกายควรจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆ ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ภายในบ้านได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข ดังนี้

1. พื้นกระเบื้องหรือพื้นไม้ ควรมีความฝืดของผิวสัมผัส กระเบื้องชนิดที่กันลื่นได้ สำหรับพื้นพรมไม่ควรนูนหรือเปิดขึ้นมาให้เสี่ยงต่อผู้สูงอายุอาจเดินสะดุดได้

2. โต๊ะสำหรับผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็น โต๊ะและอุปกรณ์ต่างๆ ควรเอื้ออำนวยต่อการใช้งาน ความสูงของโต๊ะของผู้ใช้รถเข็น ต้องลดระดับลงมาจากความสูงของโต๊ะปกติเล็กน้อย ไม่ควรมีลิ้นชัก และมีความลึกมากกว่า 40 ซ.ม. เพื่อให้ผู้สูงอายุเข็นรถเข้าไปใช้งานได้สะดวก

3. ติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ (Emergency Call Bell) บริเวณห้องนอน หัวเตียง ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น และเชื่อมต่อไปยังกริ่งส่งเสียงเตือนที่ติดตั้งในทุกๆ จุดของบ้าน เพื่อขอความช่วยเหลือ รวมถึงติดเครื่องตรวจจับไฟไหม้หรือจับควัน จะได้เข้าไปให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที

4. ความสม่ำเสมอของแสงสว่าง ผู้สูงอายุมีสายตาที่ตอบรับกับแสงสว่างช้า การปรับสายตาระหว่างพื้นที่สว่างกับพื้นที่มืด จึงเป็นไปได้ไม่ดีนัก ภายในบ้านควรมีแสงสว่างที่สม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้สูงอายุใช้งานได้อย่างปลอดภัย

5. ติดตั้งบานประตูให้กว้าง บานประตูสำหรับบ้านที่มีผู้สูงอายุและใช้รถเข็น บานประตูต้องมีความกว้างอย่างน้อย 90 ซ.ม.

6. ใช้ประตูบานเลื่อน ประหยัดพื้นที่ในการใช้งานมากกว่าบานเปิด ผู้สูงอายุจะเปิดประตูบานเลื่อนได้สะดวกและปลอดภัยกว่า

7. ติดตั้งราวจับ ตั้งแต่ทางเข้าไปจนถึงโถส้วม หรือจุดอาบน้ำ โดยตัวราวจับและสกรูยึดติดผนัง ควรรับน้ำหนักเหนี่ยวตัวลุกยืนได้สูง แทนการไปจับหรือเหนี่ยวอุปกรณ์สุขภัณฑ์ต่างๆ เช่น อ่างล้างหน้าราวแขวนผ้า ซึ่งอาจหลุดออกมาและเป็นอันตรายได้

8. สวิตช์ไฟขนาดใหญ่ชัดเจน ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน มีสีขาวและเรืองแสงได้ในที่มืด ตำแหน่งอยู่สูงจากพื้นในระยะที่ผู้ที่นั่งรถเข็นสามารถใช้งานได้สะดวก รวมถึงสวิตช์พัดลม แอร์ หรือระบบต่างๆ

ควรอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกัน เช่น บริเวณหัวเตียง

9. หลีกเลี่ยงพื้นต่างระดับ ผู้สูงอายุทั้งการเดิน และการใช้รถเข็น หากจำเป็นต้องทำพื้นที่ต่างระดับ ต้องทำทางลาดควบคู่กันไปในทุกตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนระดับ เช่น พื้นต่างระดับ 1 เมตร ต้องมีทางลาดยาว 12 เมตร

10. เก้าอี้ทุกตัวควรมีที่พักหรือที่ท้าวแขน เพราะจะสร้างความสบายในการนั่งของผู้สูงอายุในเวลาที่ต้องการจะยืน ที่พักแขนจะช่วยพยุงให้ผู้สูงอายุสามารถยืนได้ง่ายและปลอดภัยขึ้นสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การดูแลผู้สูงอายุใกล้ชิดด้วยความรักความเอาใจใส่ จะช่วยให้ท่านดำรงชีวิตอยู่ภายในบ้านได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข

ภาพโดย: http://www.applicadthai.com/art-inspire/ออกแบบบ้านเพื่อผู้สูงอายุ


ที่มา:

เอกราช ลักษณสัมฤทธิ์. “10 เรื่องต้องใส่ใจ สร้างบ้านใหม่สำหรับผู้สูงอายุ” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา. http://www.scgbuildingmaterials.com/th/LivingIdea/ArchitectLifestyle/10-เรื่องต้องใส่ใจ-สร้างบ้านใหม่สำหรับผู้สูงอายุ.aspx (11 มกราคม 2561)    

** จดหมายข่าวฉบับย้อนหลัง  ปีที่ 38 ฉบับที่ 3   10 เรื่องต้องใส่ใจ บ้านสำหรับผู้สูงอายุ

 


Tags :

CONTRIBUTOR

Related Posts
Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th