The Prachakorn

ค่าย กักกัน เยาวชนติดเกมในประเทศจีน


อมรา สุนทรธาดา

07 พฤษภาคม 2561
271



“เยาวชนจีนประมาณ 24 ล้านคน ติดเกมถึงขั้นที่ต้องบำบัดและฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน” ปัญหานี้เทียบได้กับความรุนแรงและพิษภัยจากสารเสพติด หรือเรียกได้ว่าเป็นภัยในรูปแบบของ digital heroin จึงทำให้มีสถานบริการรักษาเยาวชนเกิดขึ้นมากมายจนเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปควบคุมดูแลไม่ทั่วถึง กลายเป็นข้อโต้แย้งในสังคมถึงความเหมาะสมและความปลอดภัยสำหรับเยาวชนในกรณีที่พ่อแม่ตัดสินใจส่งลูกเข้ารับการรักษา

หนึ่งในจำนวนสถานบำบัดชื่อ Daxing Internet Addiction Treatment Center ใน Beijing มี Tao Ran จิตแพทย์ประจำกองทัพบก ผู้คิดนอกกรอบเป็นผู้บริหาร เขาใช้หลักการรักษาเพื่อบำบัดและฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดมาประยุกต์กับการรักษาเยาวชนติดเกม สถานบำบัดแห่งนี้เปิดดำ.เนินการตั้งแต่ปี 2006 มีเยาวชนทั้งชายหญิงเข้ารับการบำบัดจนถึงปัจจุบัน รวม 6,000 ราย ค่าบริการบำบัดและฟื้นฟูประมาณ 47,000 บาท/เดือน ไม่รวมอาหารและยา ขั้นตอนการรักษาจะรวมการติดตามผล และการให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับวิธีการดูแล ซึ่งหากเยาวชนใช้อินเทอร์เน็ตน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันติดต่อกัน 6 เดือนหลังการบำบัดถือว่าได้ผลในระดับหนึ่ง บางรายใช้เวลาฟื้นฟูนานกว่า 8 เดือน และต้องกลับไปฟื้นฟูใหม่ เสียค่าใช้จ่ายมากถึง 800,000 บาท

 

ออกกำลังกายแบบนักศึกษาวิชาทหาร 5 ครั้ง/วัน รูปจาก http://www.motherjones.com

 

การรักษาทางยาร่วมกับวิธีการอื่นๆ รูปจาก http://www.motherjones.com

การรักษาใช้เวลา 3-6 เดือน หรือนานกว่านั้นถ้าผลการรักษาไม่ได้ผล กฎเหล็กที่ทุกคนต้องปฏิบัติคือ ห้ามใช้อุปกรณ์การสื่อสารใดๆ ทั้งสิ้น และต้องปฏิบัติตามระเบียบอื่นๆ อย่างเคร่งครัด จิตแพทย์ผู้อำนวยการศูนย์ Daxing เชื่อว่าอาการติดเกมคล้ายการติดสารเสพติด แต่ส่งผลต่อการทำงานของสมองมากกว่า เพราะทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีปัญหาเรื่องสายตา อาการปวดหลัง เบื่ออาหาร และสมองขาดประสิทธิภาพการทำงานลดลงราวร้อยละ 8 รวมทั้งบางรายอาจมีอาการจิตเภทที่รุนแรงขึ้นเป็นลำดับหากเล่นเกมต่อเนื่องนานกว่า 6 ชั่วโมง

ประวัติผู้เข้ารับการบำบัดและฟื้นฟูที่ศูนย์ Daxing ระบุว่าผู้เข้ารับการบำบัดร้อยละ 90 เคยมีอาการเก็บตัวและซึมเศร้า ร้อยละ 58 เคยทำร้ายพ่อแม่ และร้อยละ 67 เคยมีความผิดคดีเด็กและเยาวชนเพราะสาเหตุจากการติดเกมและเลียนแบบตัวละครที่ตนชื่นชอบเป็นพิเศษ

การบำบัดที่ศูนย์ดังกล่าวทำอย่างไร

สัญญาณเป่านกหวีด เวลา 06.30 น. คือการเตรียมพร้อมในชุดแต่งกายลายพรางเพื่อออกกำลังกาย 5 ครั้ง/วัน ทุกคนมีเวลา 20 นาทีเพื่อทำธุระส่วนตัวให้เสร็จแล้วกลับมาที่สนามฝึกออกกำลังกายในแต่ละครั้ง การฝึกอย่างหนักจะเปลี่ยนพฤติกรรมเยาวชนให้มีวินัย อดทน และร่างกายแข็งแรงขึ้น วิธีการบำบัดคือฝึกความพร้อมของร่างกายแบบทหารร่วมกับวิธีรักษาทางจิตเวช เช่น การตรวจคลื่นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าเพื่อตรวจการทำ.งานของคลื่นสมองและการรักษาทางยาควบคู่กัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาลดความเครียด หรือยานอนหลับ จิตแพทย์ Tao Ran ยืนยันว่าเป็นวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมและได้ผลถึงร้อยละ 75 ผลสำเร็จดังกล่าวถูกตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้วถึง 22 ภาษา

ปัจจุบันมีสถานบำบัดทั่วประเทศราว 300 แห่ง ที่ประยุกต์วิธีการเดียวกับศูนย์ Daxing บางแห่งเน้นเข้มเฉพาะการฝึกแบบวิชาทหาร ความนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและขาดการควบคุมที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทำ.ให้นักวิชาการหลายกลุ่มมีความเห็นที่ขัดแย้งกับทฤษฎีและวิธีการรักษาดังกล่าว เพราะมองว่าเป็นการทรมานมากกว่าการบำบัด การเปรียบเทียบพฤติกรรมติดเกมกับการเสพสารเสพติดเป็นเรื่องเกินจริง เพราะอาการติดเกมเป็นเพียงการแยกตัวจากสังคม และไม่มีความจำ.เป็นที่จะต้องรักษาทางยาควบด้วย มีการรณรงค์ให้ความรู้กับผู้ปกครองเพื่อให้ความสำคัญเรื่องการดูแลอย่างใกล้ชิด การสื่อสารระหว่างพ่อแม่ เบี่ยงเบนความสนใจของเยาวชนในเรื่องอื่นๆ มากกว่าการตำหนิหรือลงโทษด้วยวิธีการรุนแรง

ผู้ปกครองบางรายหมดปัญญาหาทางออกที่จะห้ามปรามลูกไปเล่นเกมที่ cybercafe ซึ่งส่งผลให้ผลการเรียนตกต่ำ มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงถึงขั้นก้าวร้าวต่อพ่อแม่ เพราะบางครั้งเล่นเกมถึง 20 ชั่วโมงติดต่อกัน บางรายลงทุนหลอกลูกว่าจะพาไปเที่ยวปักกิ่งซึ่งมีระยะทางการเดินทางไม่น้อยกว่า 300 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตามเยาวชนบางรายเมื่อออกจากสถานบำบัด กลับมีพฤติกรรมด้านลบมากขึ้น ข่าวจากสื่อเสนอข่าวรายงานว่าเยาวชนหญิง มัดแม่ไว้กับเก้าอี้จนอดข้าวปางตาย เพราะโกรธที่ส่งตนไปบำบัดอาการติดเกม


Tags :

CONTRIBUTOR

Related Posts
Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th