The Prachakorn

ลักษณะพฤติกรรมการปลูกพืชผักผลไม้ที่บ้านในเขตเมือง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคผักและผลไม้ของคนไทยที่ไม่ใช่เกษตรกร


สาสินี เทพสุวรรณ์,สิรินทร์ยา พูลเกิด

16 พฤศจิกายน 2564
441



ด้วยประโยชน์ของการปลูกพืชผักผลไม้ที่บ้าน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนและของชาติ1 และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับสุขภาพทางจิตและกาย การเพิ่มการบริโภคผักและผลไม้2,3,4,5,6  การมีกิจกรรมทางกาย6,8 สุขภาพตนเอง7 ความผาสุกทางจิตใจ6,10 และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม6,7,10,11 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังกล่าว ดังนั้นบทความนี้นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปลูกพืชผักผลไม้ที่บ้านกับการบริโภคผักและผลไม้อย่างเพียงพอของคนไทยที่ไม่ใช่เกษตรกร และศึกษาอิทธิพลของลักษณะทางประชากร และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชผักผลไม้ที่บ้านในพื้นที่เขตเมืองของประเทศไทย

การศึกษานี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะทางประชากร การปลูกพืชผักผลไม้ที่บ้านด้วยตนเอง ปริมาณการบริโภคผักและผลไม้ และพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของบุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนแบบแบ่งชั้น จากฐานข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประชากรได้ถูกแบ่งชั้นตามเพศ อายุ เขตที่อยู่อาศัย และความหนาแน่นของประชากร คิดเป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3,720 ครัวเรือน ในการศึกษานี้ได้เก็บข้อมูลจาก 3,670 ครัวเรือน คิดเป็นจำนวนประชากร 7,065 คน และมี 5,634 คนที่ไม่ได้เป็นเกษตร

ผลการศึกษาพบว่า การปลูกพืชผักผลไม้ที่บ้านมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการบริโภคผักและผลไม้ที่เพียงพอในกลุมตัวอย่างที่ไม่ใช่เกษตรกร (p < 0.001) โดยกลุ่มที่ไม่ใช่เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองประมาณ 9% มีการปลูกพืชผักและผลไม้กินเองที่บ้าน นอกจากนี้ การปลูกพืชผักผลไม้ที่บ้านยังมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับลักษณะทางสังคมและประชากร (เพศ อายุ และอาชีพ) การมีกิจกรรมทางกาย ความกลัวการปนเปื้อนของสารเคมีตกค้างในผักและผลไม้ และความตระหนักด้านความปลอดภัยของผักและผลไม้ในหมู่ผู้ที่ไม่ใช่เกษตรกรในเมืองด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มผู้หญิงวัยกลางคน ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ผู้ที่กลัวการปนเปื้อนของสารเคมีตกค้าง และผู้ที่ตระหนักในความปลอดภัยของผักและผลไม้ในระดับสูง มีความเป็นไปได้สูงที่จะปลูกพืชผักผลไม้กินเองที่บ้าน นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างทางสังคมและประชากร ได้แก่ เพศ อายุ และอาชีพ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการปลูกพืชผักผลไม้ที่บ้านของผู้ที่อาศัยในเขตเมืองด้วย

ผลการศึกษานี้ได้เสนอแนะให้ภาครัฐหันมาให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้อย่างเพียงพอของคนไทย ผ่านการส่งเสริมการปลูกพืชผักผลไม้ที่บ้านของผู้ที่อาศัยในเมืองให้มากขึ้น และควรดำเนินการภายใต้ความร่วมมือและการสนับสนุนจากภาคท้องถิ่น รวมถึงเพิ่มทักษะการปลูกพืชผักผลไม้ที่บ้านให้กับผู้อาศัยในเขตเมืองร่วมด้วย


อ้างอิง

  1.   Buckingham, S. Women (re)construct the plot: The regen(d)eration of urban food growing. Area 2005, 37,
    171–179. [CrossRef]
  2. Machida, D. Relationship between community or home gardening and health of the elderly: A web-based cross-sectional survey in Japan. Int. J. Environ. Res. Public Health 2019, 16, 1389. [CrossRef]
  3. Litt, J.S.; Schmiege, S.J.; Hale, J.W.; Buchenau, M.; Sancar, F. Exploring ecological, emotional and social levers of self-rated health for urban gardeners and non-gardeners: A path analysis. Soc. Sci. Med. 2015, 144, 1–8.[CrossRef]
  4. Machida, D.; Yoshida, T. Relationship between fruit and vegetable gardening and health-related factors: Male community gardeners aged 50–74 years living in a suburban area of Japan. Jpn. J. Public Health 2017, 64,684–694. [CrossRef]
  5. Loso, J.; Staub, D.; Colby, S.E.; Olfert, M.D.; Kattelmann, K.; Vilaro, M.; Colee, J.; Zhou, W.; Franzen-Castle, L.;Mathews, A.E. Gardening experience is associated with increased fruit and vegetable intake among first-year college students: A cross-sectional examination. J. Acad. Nutr. Diet. 2018, 118, 275–283. [CrossRef]
  6. Ober Allen, J.; Alaimo, K.; Elam, D.; Perry, E. Growing vegetables and values: Benefits of neighborhood-based community gardens for youth development and nutrition. J. Hunger Environ. Nutr. 2008, 3, 418–439.[CrossRef]
  7. Litt, J.S.; Schmiege, S.J.; Hale, J.W.; Buchenau, M.; Sancar, F. Exploring ecological, emotional and social levers of self-rated health for urban gardeners and non-gardeners: A path analysis. Soc. Sci. Med. 2015, 144, 1–8.[CrossRef]
  8. Machida, D.; Yoshida, T. Relationship between fruit and vegetable gardening and health-related factors: Male community gardeners aged 50–74 years living in a suburban area of Japan. Jpn. J. Public Health 2017, 64,684–694. [CrossRef]
  9. Loso, J.; Staub, D.; Colby, S.E.; Olfert, M.D.; Kattelmann, K.; Vilaro, M.; Colee, J.; Zhou, W.; Franzen-Castle, L.;Mathews, A.E. Gardening experience is associated with increased fruit and vegetable intake among first-year college students: A cross-sectional examination. J. Acad. Nutr. Diet. 2018, 118, 275–283. [CrossRef]
  10. Ober Allen, J.; Alaimo, K.; Elam, D.; Perry, E. Growing vegetables and values: Benefits of neighborhood-based community gardens for youth development and nutrition. J. Hunger Environ. Nutr. 2008, 3, 418–439.[CrossRef]
  11. Eng, S.; Khun, T.; Jower, S.; Murro, M.J. Healthy lifestyle through home gardening: The art of sharing. Am. J. Lifestyle Med. 2019, 13, 347–350. [Google Scholar] [CrossRef]

ที่มา

Phulkerd, S., Thapsuwan, S., Gray, R. S. & Chamratrithirong, A. (2020). Characterizing urban home gardening and associated factors to shape fruit and vegetable consumption among non-farmers in Thailand. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(15):5400.

 



CONTRIBUTORS

Related Posts
เงิน….. งาน…… บันดาลสุขอย่างไร? ในวันที่ต้อง Work From Home

จรัมพร โห้ลำยอง,ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต

อนาคตเด็กไทยหน้าติดจอ

นฤมล เหมะธุลิน,อภิชาติ แสงสว่าง

การเลียนแบบ

วรชัย ทองไทย

โกหก

วรชัย ทองไทย

ขั้นตอนวิธี (algorithm)

วรชัย ทองไทย

ลักษณนาม

วรชัย ทองไทย

โรคอ้วน

วรชัย ทองไทย

แรด

วรชัย ทองไทย

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th