“ช่วงปี 2506–2526” เป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจของนักประชากรศาสตร์ของประเทศไทย เนื่องจาก ประเทศไทยมีเด็กเกิดเป็นจำนวนมาก โดยในช่วงเวลาดังกล่าว มีจำนวนเด็กเกิดสูงกว่าปีละ 1 ล้านคน ติดต่อกันถึง 21 ปี
ศ.เกียรติคุณ ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล นักประชากรศาสตร์คนสำคัญของประเทศไทย ได้เรียกประชากรกลุ่มนี้ว่า “ประชากรรุ่นเกิดล้าน” ซึ่งนับว่าเป็นคลื่นประชากรลูกที่ใหญ่มาก จนบางครั้งท่านก็เรียกว่าเป็น “สึนามิประชากร” ซึ่งการเพิ่มจำนวนประชากรในช่วงนี้ สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมและเศรษฐกิจของบ้านเราที่ยังคงพึ่งพาแรงงานจำนวนมากในภาคการเกษตร เป็นครอบครัวขนาดใหญ่ จึงเป็นเรื่องปกติในสังคมไทยที่นิยมมีลูกหลายคน
ในช่วงเวลากว่า 20 ปีนั้น ปี 2514 ถือเป็นจุดสูงสุดที่มีจำนวนเด็กเกิดใหม่มากถึง 1,221,228 คน ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรในช่วงนั้นได้สร้างความท้าทายที่สำคัญ อาทิ การจัดสรรทรัพยากรสาธารณะ การศึกษา สาธารณสุขเพื่อรองรับความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น ในเวลาต่อมา รัฐบาลไทยเริ่มดำเนิน “นโยบายควบคุมประชากร” เพื่อไม่ให้จำนวนเด็กเกิดมากจนเกินไป เช่น การส่งเสริมการวางแผนครอบครัว การให้ความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิด มีโฆษณาและคำขวัญที่ง่ายต่อการจดจำ เช่น “ลูกมากจะยากจน” “หญิงก็ได้ชายก็ดีมีแค่สอง”
เมื่อนำสถิติการเกิดเมื่อปี 2506-2526 มาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรในปี 2567 พบว่า ส่วนใหญ่ยังมีชีวิตอยู่ราวๆ 85%ของเด็กที่เกิดในแต่ละปี เด็กรุ่นเกิดล้านในปี 2506-2507 ได้ “ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว” โดยมีอายุ 61 และ 60 ปีตามลำดับ ในปี 2567 คลื่น 2 ลูกแรกนี้ มีประมาณ 1.8 ล้านคน โดยเด็กรุ่นเกิดล้านที่มีอายุน้อยที่สุดนั้น จะมีอายุ 41 ปี ในปี 2567 ซึ่งเป็นวัยกลางคนแล้ว
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าในช่วงอีกราว 20 ปีต่อไปจากนี้ จะมีคลื่นสึนามิประชากรที่เคลื่อนสู่การเป็นผู้สูงอายุอีกปีละประมาณ 8-9 แสนรายต่อปี สิ่งที่ภาครัฐควรตระหนักและให้ความสนใจในการออกแบบนโยบายเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการดูแลในอนาคต มีหลากหลายประเด็น อาทิ
ข้อมูลจำนวนเด็กเกิดในช่วงปี 2506–2526 อายุเมื่อปี 2567 และจำนวนของคนที่อายุนั้นเมื่อปี 2567
ข้อมูล: สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย