The Prachakorn

จิตอาสา: การสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ที่ไม่รู้จบ


เพ็ญพิมล คงมนต์

17 สิงหาคม 2561
818



           

           

ปัจจุบันเราได้เห็นสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยบ่อยครั้ง เช่น การช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน การร่วมมือ ร่วมใจให้ความช่วยเหลือในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมจึงเกิดคำว่า “จิตอาสา” หรือ Volunteer Spirit หมายถึง จิตแห่งการให้ความดีงามแก่เพื่อนมนุษย์โดยเต็มใจ พร้อมที่จะเสียสละเวลา ช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม การรู้จักเอาใจใส่ เข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ มีความสำนึก และยึดมั่นในระบบคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงาม มีความรับผิดชอบ ไม่นิ่งดูดายต่อสังคม หรือความทุกข์ยากของผู้คน และปรารถนาเข้าไปช่วย ไม่ใช่แค่การให้ทาน ให้เงินแต่พร้อมที่จะอาสาด้วยการสละเวลา กำลังกาย กำลังใจ กำลังปัญญา ซึ่งไม่ใช่แค่ทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นอย่างเดียว แต่เป็นการพัฒนา “จิตวิญญาณ” ของเราด้วย ผลตอบแทนที่ได้รับ คือ ความสุข และความภาคภูมิใจ ที่ได้ปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อสร้างประโยชน์ให้ส่วนรวม การรู้สึกถึงคุณค่าด้วยจิตที่เป็นสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น การได้ช่วยเหลือสังคมและร่วมมือกันทำงานจนสำเร็จ เรียนรู้และเข้าใจคำว่าจิตอาสามากขึ้น ซึ่งการทำงานเป็นทีมจะก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี ความรับผิดชอบ เกิดมิตรภาพที่ดี ซึ่งการทำความดีสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา

การจะแก้ปัญหาให้สำเร็จได้ ทุกคนที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ ต้องให้ความร่วมมือเกื้อหนุนกัน มีความสามัคคี มีน้ำใจ มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม ยอมเสียสละได้ทุกเมื่อ สร้างคนให้เห็นแก่ประโยชน์สุขของผู้อื่นและสังคมโดยรวม มีความรักความปรารถนาดีที่จะให้ และมีจิตใจที่จะทำความดี เข้าใจ และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ ก่อให้เกิดสังคมที่มีแต่การให้ไม่มีที่สิ้นสุด การสร้างจิตสำนึกเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและส่วนรวม เป็นสิ่งที่สังคมไทยต้องการอย่างยิ่ง

“การช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เป็นการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ที่ไม่รู้จบ”

จิตอาสา “ความดี, ความสุข, เกิดจากการให้”


ที่มา:

  • คิด ฉัตรประภาชัย. “จิตอาสา… หนทางอยู่ร่วมกันในสังคม”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://live.siammedia.org/index.php/article/kid/15395 (2 กรกฎาคม 2561)
  • พิชชา ถนอมเสียง. “จิตอาสากับความสุข”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttps://www.gotoknow.org/posts/560084 (3 กรกฎาคม 2561)

Tags :

CONTRIBUTOR

Related Posts
Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th