The Prachakorn

สุขอย่างไร……..สุขแบบคนไทย ๔.๐


ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต

563



วิสัยทัศน์ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทย ฉบับปัจจุบัน (ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560–2564) มุ่งสู่ ประเทศไทย ๔.๐ มั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืน” เน้น การสร้างเสริม ให้เป็น “คนไทย ๔.๐”  ที่มีคุณลักษณะ เป็นคนดี คนเก่ง คนมีศักยภาพ มีความสร้างสรรค์ และมีการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

“ความสุขคนไทย ๔.๐”  จึงเป็นโจทย์ใหญ่โจทย์หนึ่ง ของการบริหารจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความสุขคนวัยทำงาน”  เพราะคนกลุ่มวัยนี้ เป็นกำลังขับเคลื่อนหลักของการพัฒนาประเทศ ไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายและวิสัยทัศน์ “ประเทศไทย ๔.๐”

ศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินการสร้างเสริมความสุขคนทำงานและองค์กรแห่งความสุข ตามแนวคิด ถ้าคนทำงานเป็น คนทำงานเก่ง”  คนทำงานต้องมี สุขภาวะ 5 ด้านที่ดี ได้แก่สุขกาย สุขใจ สุขจิตวิญญาณ สุขสังคม (น้ำใจ ครอบครัว สังคม การเงิน) และ สุขปัญญา เมื่อเป็น คนทำงานเก่ง”  ก็จะเกิดศักยภาพในการทำงาน และทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข สามารถผลิตงานท้าทายและงานที่มีคุณค่าเพิ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสามารถเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับองค์กร นำไปสู่ “องค์กรแห่งความสุข”

ศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย ติดตามประเมินคุณภาพชีวิตและความสุข “คนไทย ๔.๐”  ที่อยู่ในวัยทำงาน จากการสำรวจด้วยเครื่องมือ HAPPINOMETER และสร้าง “นักสร้างสุของค์กร”  ด้วยหลักสูตร การบริหารจัดการองค์ความรู้สู่ความสุขในการทำงาน (Routine to Happiness: R2H) มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จนถึงปี พ.ศ. 2560 พบว่า ในรอบ 6 ปี ที่ผ่านมาความสุขคนทำงานในภาพรวม สูงที่สุดในปี 2558 คือ ร้อยละ 62.2และต่ำที่สุดในปี 2560 คือ ร้อยละ 57.9

แล้วคนทำงานเหล่านี้สุขอย่างไร ..............

สุขภาวะ 5 ด้าน ที่ส่งผลไปถึง การเป็น “คนเก่ง”  นั้น

สุขจิตวิญญาณ (จิตวิญญาณดี: Happy Soul) มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดในทุกปีสำรวจ โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด ร้อยละ69.5 (ผลสำรวจปี 2558) ค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด ร้อยละ 67.4 (ผลสำรวจปี 2560)

สุขใจ (ผ่อนคลายดี: Happy Relax) มีค่าคะแนนนเฉลี่ยต่ำสุดในทุกปีสำรวจ โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด ร้อยละ 52.2 (ผลสำรวจปี 2558) ค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด ร้อยละ 48.2 (ผลสำรวจปี 2559)

สุขกาย (สุขภาพกายดี: Happy Body) มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด ร้อยละ 62.7 (ผลสำรวจปี 2558) ค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุดร้อยละ 59.3 (ผลสำรวจปี 2560)

สุขปัญญา (ใฝ่รู้ดี: Happy Brain) มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดร้อยละ 63.1 (ผลสำรวจปี 2558) ค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด ร้อยละ 58.4 (ผลสำรวจปี 2560)

สุขสังคม ประกอบ 4 มิติ ได้แก่ น้ำใจดี: Happy Heart มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด ร้อยละ 68.8 (ผลสำรวจปี 2558) ค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด ร้อยละ 63.2 (ผลสำรวจปี 2560) ครอบครวั ดี: Happy Family มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด ร้อยละ 60.6 (ผลสำรวจเท่ากันในปี 2557 และ 2558) ค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด ร้อยละ 56.7 (ผลสำรวจปี 2559) สังคมดี: Happy Society มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด ร้อยละ59.7 (ผลสำรวจปี พ.ศ. 2558) ค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด ร้อยละ 55.1 (ผลสำรวจปี 2559) การเงินดี: Happy Money มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด ร้อยละ 55.3 (ผลสำรวจเท่ากันในปี 2555 และ 2558) ค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด ร้อยละ 50.7 (ผลสำรวจปี 2560) สุขสุดท้ายที่แสดงผลการเป็น คนเก่ง คือ สามารถใช้ศักยภาพ “คนเก่ง” ในการเพิ่มผลิตภาพให้กับตนเองและองค์กร คือ สุขการทำงาน: Happy Work-Life โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด ร้อยละ 61.3 (ผลสำรวจปี 2558) ค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด ร้อยละ 60.0 (ผลสำรวจเท่ากันในปี 2559 และ 2560)

ข้อคิดท้ายบท ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขคนทำงาน คือ การประสบความสำเร็จบ่อยครั้งตรงตามเป้าหมายของแผนที่กำหนดไว้ในทุกระดับ หากเราต้องการเป็นคนทำงานที่มีความสุข แบบ “คนไทย ๔.๐” เราก็ต้องหมั่นดูแลรักษา สุขภาวะ 5 ด้าน เพื่อสร้างเสริมศักยภาพในการสร้างผลงานให้เกิดคุณค่ามีความสามารถเพิ่มผลิตภาพได้สำเร็จอย่างต่อเนื่องตรงตามเป้าหมายความต้องการของตนเอง ครอบครัว องค์กร สังคม และประเทศชาติ เป็นต้นแบบ ความสุขคนทำงาน แบบ “ความสุขคนไทย ๔.๐” ที่จะต่อยอดผลสัมฤทธิ์ ไปสู่ “ประเทศไทย ๔.๐ มั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืน

ค่าเฉลี่ยความสุขคนทำงานในองค์กรของประเทศไทยปี พ.ศ.2555-2560 จำแนกตามรายมิติ

ที่มาศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทยสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล

 


Tags :

CONTRIBUTOR

Related Posts
Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th