The Prachakorn

สะท้อนภาพสถานการณ์ความฉลาดทางดิจิทัลของผู้สูงวัย ผู้เล่นหน้าใหม่ในโลกดิจิทัล


24 พฤษภาคม 2566
468



จุฬาลักษณ์ อิ่มแก้ว, ชานิภา เอี่ยมเจริญ, ปาริฉัตร นาครักษา, ขวัญฤทัย อมรดลใจ, นฤมล เหมะธุลิน และอภิชาติ แสงสว่าง

ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตแต่ขณะเดียวกันก็แฝงด้วยอันตรายโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่พบสถิติการร้องเรียนปัญหาภัยคุกคามทางออนไลน์มากที่สุด ทำให้แหล่งสนับสนุนทางสังคมมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางดิจิทัลและความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการใช้ดิจิทัลกับระดับความฉลาดทางดิจิทัลในระดับพลเมืองดิจิทัลของผู้ที่มีอายุระหว่าง 50 – 69 ปี ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามได้จำนวนทั้งหมด 238 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนในระดับน้อยเมื่อเทียบกับระดับสูง มีโอกาสที่ความฉลาดทางดิจิทัลในระดับพลเมืองผ่านเกณฑ์ลดลงร้อยละ 84.8 รวมถึงสภาพเศรษฐกิจครัวเรือน จำนวนอุปกรณ์และระยะเวลาถือครองที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางดิจิทัลของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้พบร้อยละ 54.2 ของผู้สูงอายุมีคะแนนความฉลาดทางดิจิทัลไม่ผ่านเกณฑ์โดยด้านการจัดการความปลอดภัยในโลกดิจิทัลมีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด

ติดตามและรับชมย้อนหลังได้ที่ Facebook : IPSRMahidolUniversity

https://fb.watch/lK8GvgLtwX/


Tags :

CONTRIBUTOR

Related Posts
Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th