The Prachakorn

การประยุกต์ใช้แบบจำลองพลวัตรระบบ (System Dynamic) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยีที่อิงฉากทัศน์


22 พฤศจิกายน 2566
369



ภวัต ตันสุรัตน์

คณะการจัดการ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทาลัยมหิดล
 

กระบวนการจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยี หรือ Technology roadmapping ถือเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพสำหรับการวางแผนเชิงกลยุทธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยีเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจับภายนอกองค์กร เช่น การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และรวมถึงความไม่แน่นอนที่อาจเกิดอย่างกระทันหัน  งานวิจัยประยุกต์ใช้แบบจำลองพลวัตรระบบ (System dynamics) เพื่อจำลองฉากทัศน์ (Scenarios) ที่ต่างกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยี (Technology roadmapping) ซึ่งฉากทัศน์เชิงบวกและเชิงลบโดยอิงจากความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ กระบวนการดังกล่าวจะช่วยให้องค์กรสร้างแผนที่นำทางเทคโนโลยีที่อิงกับฉากทัศน์ (Scenario-based roadmapping) ล่วงหน้า เพื่อที่องค์กรจะสามารถตอบสนองได้อย่างทันท่วงทีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจริงมาถึง

ติดตามชมย้อนหลังได้ที่: https://fb.watch/otr5gviksX/


Tags :

CONTRIBUTOR

Related Posts
Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th