ทุกคนคงรู้จักโรคไม่ติดต่อ (Non-communication Disease: NCDs) เช่นโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็ง และมักคิดว่าโรคไม่ติดต่อพบได้เฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ความเป็นจริงคือ ไม่เฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น เพราะสาเหตุการเป็นโรคไม่ติดต่อเป็นเสมือน “กล่องสุ่ม” รวบรวมพฤติกรรมเสี่ยงของคนทุกเพศทุกวัยที่สะสมไว้โดยไม่รู้ว่าโอกาสที่โรคไม่ติดต่อจะมาถึงตัวเมื่อไร โรคไม่ติดต่อจึงส่งผลกระทบต่อประชากรมหาศาลทุกพื้นทวีป จนกลาย เป้าหมายที่ 3 สุขภาพและการเป็นอยู่ที่ดี หนึ่งใน 17 เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations)
การตายก่อนวัยอันควร คือ ช่วงระหว่างอายุ 30–69 ปี และการมีชีวิตอยู่ของประชากรด้วยความพร่องทางสุขภาพ หมายถึง การมีชีวิตอยู่พร้อมกับมีโรค แทนที่จะมีสุขภาพดีและแข็งแรง หรือการมีชีวิตอยู่และมีความพิการ
ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก1 ระบุว่า ประมาณ 17 ล้านคน ตายก่อนวัยอันควร ขณะที่ข้อมูลในประเทศไทย พบว่า โรคหลอดเลือดสมองเร่งให้เกิดการตายก่อนวัยอันควรของประชากรไทยถึง 44.3 รายต่อประชากรแสนคน โดยพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ปี 2552 การตายก่อนวัยอันควรของไทยเท่ากับ 343.1 รายต่อประชากรแสนคน ส่วนปี 2556 เพิ่มเป็น 355.3 รายต่อประชากรแสนคน2
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ มาจาก 2 สิ่งแรกคือ ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรม สิ่งที่สองคือ ปัจจัยเสี่ยงด้านระบบการเผาผลาญที่เป็นผลต่อเนื่องจากปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรม มาดูกันว่า พฤติกรรมเสี่ยงของคนกลุ่มนี้ เป็นอย่างไร
หากไม่อยากเป็นโรคไม่ติดต่อ ควรมีพฤติกรรมดังนี้
เป็นที่แน่นอนว่า ทุกคนอยากมีชีวิตที่ยืนยาวและสุขภาพดี และไม่มีใครอยากเสียชีวิตก่อนวัยอันควร หรือมีชีวิตอยู่ร่วมกับความเจ็บป่วย ดังนั้นหากเราหมั่นใส่ใจกับพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพของตนเอง เมื่อนั้นกล่องสุ่มของเราก็จะรวบรวมแต่พฤติกรรมไม่เสี่ยง
ถ้าต้องการห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อ เลือกเอาว่าจะยกมือข้างใด
รูป: โภชนาการที่ดีและไม่ดี
ที่มา: https://www.canva.com/design/ สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2566
เอกสารอ้างอิง
ภาพปก freepik.com (premium license)