The Prachakorn

ประสบการณ์การเข้าร่วมประชุมวิชาการ World Public Health Nutrition Congress 2024 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร (ตอนที่1)


09 ตุลาคม 2567
73



Sirinya Phulkerd, Nongnuch Jindarattanaporn and Weerapak Samsiripong

งานประชุมวิชาการ World Public Health Nutrition Congress 2024 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-13 มิถุนายน 2567 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตั้งคำถามเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของโลกในปัจจุบัน โดยคณะนักวิจัยของสถาบันฯ มีโอกาสเข้าร่วมประชุมนี้รวมทั้งสิ้น 9 ท่าน และมีโอกาสได้นำเสนอผลงานวิจัย ทั้งในรูปแบบนำเสนอปากเปล่าและนำเสนอผ่านโปสเตอร์

ในเสวนาใต้ชายคาประชากรนี้ จึงอยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการเดินทางไปประชุมผ่านผลงานวิจัยที่ได้ไปนำเสนอ และช่วงเวลาที่อยู่ในสหราชอาณจักรนี้ วิทยากรได้เดินทางไปพบเจออะไรที่น่าสนใจบ้าง ฝากติดตามด้วยนะคะ

นวัตกรรมทางนโยบายอาหารและโภชนาการของประเทศไทย

Sirinya Phulkerd

พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดังนั้นการมีนโยบายและมาตรการด้านอาหารและโภชนาการที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหล่านี้ของคนไทยได้ ซึ่งนวัตกรรมทางนโยบายมีการถูกพูดถึงกันมากขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้นการนำเสนอในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายที่ใช้นวัตกรรมในกระบวนการนโยบาย เพื่อผลักดันให้เกิดนโยบายที่ส่งเสริมให้คนไทยลดการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ดีต่อสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเลือกวิเคราะห์ 2 นโยบายกรณีศึกษา ได้แก่ นโยบายเก็บภาษีในเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง และนโยบายควบคุมการทำการตลาดอาหารที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก โดยศึกษาการใช้นวัตกรรมในขั้นตอนการกำหนดวาระ การพัฒนานโยบาย การดำเนินนโยบาย และการติดตามและประเมินผล และวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกรอบแนะนำการใช้นวัตกรรมทางนโยบาย ซึ่งผลการวิเคราะห์นี้จะช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีข้อมูลที่ในการใช้ประกอบพัฒนานโยบายอาหารและโภชนาการหรือนโยบายอื่นๆ โดยใช้นวัตกรรมในอนาคตต่อไป

Food and non-alcoholic beverage marketing situation in Thailand: a review of the evidence

Nongnuch Jindarattanaporn, Sirinya Phulkerd and Weerapak Samsiripong

The objective of this study was to explore the patterns and contents of food and non-alcoholic beverage marketing in Thailand. Document review from the top 2 food companies and top 2 non-alcoholic beverage companies which had the highest trade volume and market share was employed and data available from January 2017 to September 2021. Integrated marketing communication and thematic analysis were used to analyze the data from the document review. This study revealed the following patterns of food and non-alcoholic beverage marketing: enhancing the products’ flavors based on consumers’ preferences, using celebrities and brand characters as presenters in both advertising and packaging, and using sales promotions with discounts, redemptions, giveaways, and sweepstakes with a high prize value. The contents of food and non-alcoholic beverage marketing focused on taste, fun, family and friend relationships, the quality of ingredients, and the nutritional value of the products. The Ministry of Public Health should control the patterns and contents of food marketing.

Implementing the REPLACE action package in Thailand: progress and prospects (การนำ REPLACE action package ไปสู่การปฏิบัติในประเทศไทย: ความก้าวหน้าและก้าวต่อไป)

Weerapak Samsiripong and Sirinya Phulkerd

การกำจัดไขมันทรานส์จากแหล่งอุตสาหกรรมเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายทศวรรษแห่งการดำเนินงานด้านโภชนาการของสหประชาชาติ ปี พ.ศ. 2559-2568 โดยในปี พ.ศ. 2561 องค์การอนามัยโลกได้เสนอให้แต่ละประเทศนำ REPLACE action package ไปสู่การปฏิบัติ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความก้าวหน้าและก้าวต่อไปในการกำจัดไขมันทรานส์จากแหล่งอุตสาหกรรมในประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า แม้ว่าประเทศไทยประกาศห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเดิมไฮโดรเจนบางส่วนแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 แต่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางนโยบายได้เสนอให้มีการดำเนินการอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การประกาศนโยบายเสริม การส่งเสริมการใช้น้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการใช้น้ำมันเพื่อการปรุงประกอบอาหารในครัวเรือน การบูรณาการงานวิจัยเข้ากับกลไกการติดตามและประเมินผล ตลอดจนการสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคมในกลไกเฝ้าระวัง

Watch VDO later at https://fb.watch/vRrO7VfEWA/


Tags :

CONTRIBUTOR

Related Posts
Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th