The Prachakorn

โควิด-19 ฉุดประชากรโลก ยากจนยาวถึงปี 2573


อมรา สุนทรธาดา

25 มกราคม 2564
710



เพียงช่วงเวลาหนึ่งปีเศษเท่านั้นนับแต่การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19  หลายประเทศทั่วโลกได้รับผลกระทบขั้นวิกฤต รายงานการวิเคราะห์ ดำเนินการโดย UNDP ร่วมมือกับ UN Women และ สถาบัน Pardee Center for International Futures มหาวิทยาลัยเด็นเวอร์ รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา คาดประมาณผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก ประมาณ 6 ล้านคนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง และอาจมีจำนวนมากกว่าที่คาดประมาณไว้ เนื่องจากแรงงานหญิงถูกเลิกจ้างงานมากกว่าแรงงานชายหรือชั่วโมงการจ้างงานน้อยลง ส่งผลต่อเด็กโดยตรงเพราะผู้หญิงทำหน้าที่หลักเพื่อดูแลบุตรและครอบครัว

UN Women  (2020) คาดประมาณจำนวนประชากรหญิงกลุ่มอายุ 25-34 ทั่วโลกมีประมาณ 50 ล้านคนที่มีรายได้ยังชีพประมาณ 60 บาท ต่อวัน เปรียบเทียบกับผู้ชายในกลุ่มอายุเดียวกันมี ประมาณ 40 ล้านคน ผู้หญิงได้รับผลกระทบมากกว่าเพราะแรงงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคการจ้างแรงงานนอกระบบ (informal sectors) เช่น รับจ้างทำงานบ้าน รับงานมาทำที่บ้านโดยมีค่าตอบแทนตามจำนวนงานที่ผลิตได้ ลักษณะงานไม่มีความมั่นคงในเรื่องระยะเวลาการจ้างงาน รวมทั้งการต่อรองค่าแรง ไม่มีสวัสดิการแรงงาน แรงงานลักษณะดังกล่าวได้รับผลกระทบรุนแรง เช่น ถูก เลิกจ้างงาน ลดชั่วโมงการทำงาน คาดประมาณว่าแรงงานหญิงทั่วโลกสำหรับการจ้างงานลักษณะนี้ ต้องขาดรายได้น้อยกว่าที่เคยหาได้ร้อยละ 60 ในช่วงแรกของการแพร่ระบาดโควิด 19  ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อครอบครัว เช่น กลุ่มประเทศตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า และกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ได้รับผลกระทบร้อยละ 81 ประเทศต่าง ๆในทวีปยุโรปและเอเชียกลางได้รับผลกระทบ ร้อยละ 70 สำหรับเอเชียและหมู่เกาะแปซิฟิกได้รับผลกระทบน้อยที่สุดคือร้อยละ 22

ภาพที่ 1 จำนวนประชากรโลกที่ฐานะยากจนต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจน ก่อนและหลังการระบาดโควิด 19 จำแนกตามเพศ

ที่มา:    G. Azcona, Bhatt. A, and Kapto.S.  2020.

ภาพที่ 2 อัตราส่วนประชากรหญิงยากจนเปรียบเทียบกับประชากรชาย 100 คน ในภูมิภาคเอเชียใต้

ที่มา: Azcona, G., Bhatt. A. and Kapto. S.  2020.

โดยเฉพาะประชากรหญิงวัยเจริญพันธุ์  มีอัตราส่วนประชากรหญิงยากจนเปรียบเทียบกับประชากรชาย 119 คน ต่อ 100 คน ในกลุ่มอายุ 25-34 ปี ในปี 2020 และคาดว่าจะเพิ่มเป็นหญิง 121 คน ต่อชาย 100 คน ในปี 2030 โดยเฉพาะประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้

ประชากรโลกเพศหญิงที่ยากจนที่สุดในโลกร้อยละ  58.9 อยู่ในกลุ่มประเทศตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า และคาดว่าจะเพิ่มเป็น ร้อยละ 71.1 ในปี 2030  เช่นเดียวกับอัตราเพิ่มในกลุ่มประทศเอเชียกลางและเอเชียใต้เนื่องจากการระบาดของโควิด 19 อัตราเพิ่มคาดว่าประมาณ ร้อยละ 10 ในปี 2021  คาดว่าอาจเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 13 ในปี 2021 และอาจเพิ่มสูงถึงร้อยละ 18.6 ในปี 2030

การลดช่องว่างความยากจนของประชากรหญิงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ยังมีความหวังอยู่บ้าง เช่น การเร่งนโยบายสร้างโอกาสด้านการศึกษา การบริการวางแผนครอบครัวที่เข้าถึงได้สะดวกและปลอดภัย ค่าแรงที่ยุติธรรม และมาตรการเพิ่มสวัสดิการอื่น ๆ ซึ่งต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 480,000 ล้าน ดอลล่าร์ เพื่อคุ้มครองประชากรหญิง 100 ล้านคน ทั่วโลกให้หลุดพ้นจากความยากจนในระดับหนึ่งและปลอดภัยจากการป่วยหรือเสียชีวิตด้วยโควิด 19 เช่นกัน

ความช่วยเหลือเพื่ออยู่รอด

องค์การสหประชาชาติ (UN, 2000) ประมวลผลภาพรวมประเทศต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด 19 ในหลายประเทศมีโครงการให้ความช่วยเหลือแบบเร่งด่วนสำหรับผู้ที่เป็นเหยื่อความรุนแรงในช่วงมาตรการ lockdown เช่น จีน มี online application # Antidomestic Violence โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  สเปนมีบริการ online chatroom เพื่อให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต   อาร์เจนตินาให้บริการรับเรื่องราวผ่านร้านขายยา เช่นเดียวกับฝรั่งเศสมีบริการรับเรื่องผ่านร้านสะดวกซื้อรวมทั้งสำรองที่พักในโรงแรม 20,000 ห้อง เพื่อการเข้าพักระยะสั้น สำหรับผู้หญิงที่เป็นเหยื่อความรุนแรงหรือการคุกคามทุกประเภท

ภาพประกอบจาก Ketut Subiyanto from Pexels


อ้างอิง:

  • Azcona, G., Bhatt, A. and Kapto, S. 2020. The COVID-19 boomerang effect: New forecasts predict sharp increases in female poverty. สืบค้นจาก https://data.unwomen.org/features/covid-19-boomerang-effect-new-forecasts-predict-sharp-increases-female-poverty  วันที่ 20 มกราคม 2564
  • UN Women 2020 SPOTLIGHT ON GENDER, COVID-19 AND THE SDGS WILL THE PANDEMIC DERAIL HARD-WON PROGRESS ON GENDER EQUALITY? สืบค้นจาก  https://www.unwomen.org/en/digital-library/ วันที่ 20 มกราคม 2564
  • United Nations 2020 Policy Brief: The Impact of COVID-19 on Women สืบค้นจากhttps://www.unwomen.org/en/digital-library/publications/2020/04/policy-brief-the-impact-of-covid-19-on-women  วันที่ 20 มกราคม 2564

 

 



CONTRIBUTOR

Related Posts
อยากออกไปล็อกดาวน์ในดินแดนมังกร

นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์

COVID-19 โรคเปลี่ยนโลก

ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา

เมื่อโควิด-19 กำลังจะผ่านไป

ปราโมทย์ ประสาทกุล

ประชากรศาสตร์ของโควิด-19

ปราโมทย์ ประสาทกุล

วิถีใหม่

วรชัย ทองไทย

ด้วยรักและโรคระบาด

ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ

เลี้ยงลูกในยุคโรคระบาด

มนสิการ กาญจนะจิตรา

กินคาวไม่กินหวานสันดานไพร่

ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์

ต้องยกเลิกมาตรา 301

กฤตยา อาชวนิจกุล

พาพ่อกลับกรีนแลนด์

อมรา สุนทรธาดา

เกิดน้อย...ก็ดีนะ

มนสิการ กาญจนะจิตรา

ทำไมคุณพ่อต้องลาคลอด

มนสิการ กาญจนะจิตรา

คนจนในสหรัฐอเมริกา

อมรา สุนทรธาดา

มาชะลอวัยกันเถอะ!

ปราโมทย์ ประสาทกุล

COVID-19 : รักษาระยะห่าง ดูแลระยะใจ 

พงษ์ศักดิ์ สกุลทักษิณ,ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์

หวังว่าโควิด-19 จะผ่านไป

ปราโมทย์ ประสาทกุล

หาว

วรชัย ทองไทย

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th