The Prachakorn

รูปแบบการพึ่งพิงที่เปลี่ยนแปลงไปของประชากรไทย


กาญจนา เทียนลาย

30 ธันวาคม 2563
4,318



ข้อมูลการคาดประมาณประชากรไทยชุดล่าสุด1 สะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของประชากรไทย กล่าวคือ จำนวนเด็กและวัยแรงงานลดลง ส่วนผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมีผลต่อการพึ่งพิงด้วย

จะเห็นได้ว่า “อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุ”2 หรือ อัตราส่วนการเป็นภาระมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากผู้ที่ต้องพึ่งพิง (วัยเด็กและผู้สูงอายุ) ราว 49 คนในปี 2553 เป็น 79 คนในปี 2583 ต่อวัยแรงงาน 100 คน ส่วน “อัตราส่วนพึ่งพิงผู้สูงอายุ” มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน จากผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิง ราว 20 คนในปี 2553 เป็น 56 คนในปี 2583 ต่อวัยแรงงาน 100 คน

ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่าแนวโน้มรูปแบบการพึ่งพิงจะเปลี่ยนจากการพึ่งพิงของเด็กเป็นส่วนใหญ่ มาสู่การพึ่งพิงของผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่

ที่มาของภาพปก: Designed by Freepik  (www.freepik.com)


  1. การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583 (ฉบับปรับปรุง)
  2. “อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุ” หรือ “อัตราส่วนการเป็นภาระ” (Age dependency ratio) หมายถึง อัตราส่วนของประชากรที่อยู่ในกลุ่มอายุนอกวัยแรงงานต่อประชากรในวัยแรงงาน โดยมีข้อสมมุติว่า ประชากรที่อยู่ในกลุ่มอายุนอกวัยแรงงานนั้นต้องพึ่งพิงทางเศรษฐกิจ

 



CONTRIBUTOR

Related Posts
บ้านคนแก่ของเพื่อนเก่า

ปราโมทย์ ประสาทกุล

สังคมสูงวัย อย่ามองแค่อายุ

มนสิการ กาญจนะจิตรา

สูงวัยแต่ไม่แก่

ปราโมทย์ ประสาทกุล

เกิดน้อย...ก็ดีนะ

มนสิการ กาญจนะจิตรา

โลกแคบลง เมื่ออายุมากขึ้น

ปราโมทย์ ประสาทกุล

พาพ่อกลับกรีนแลนด์

อมรา สุนทรธาดา

ความหน้า และความหลัง

ปราโมทย์ ประสาทกุล

Prachakorn Forum EP.7 | สูงวัยในเมืองหลวง

สุรีย์พร พันพึ่ง,ตะวันชัย​ จิ​ร​ประมุข​พิทักษ์

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th