หนึ่งในความท้าทายของสังคมสูงอายุคือการขาดแคลนแรงงาน อันเนื่องมาจากโครงสร้างอายุของประชากรเปลี่ยนแปลงจากการที่มีจำนวนเด็กเกิดน้อย เมื่อประชากรเด็กเติบโตขึ้นจนถึงอายุ 15 ปี จึงจะถือว่าเข้าสู่วัยแรงงาน เมื่อ 20 ปีที่แล้ว (พ.ศ. 2533) ประเทศไทยมีประชากรวัยแรงงาน (15-59 ปี) ร้อยละ 63.4 และเด็ก (0-14 ปี) ร้อยละ 29.2 ของประชากรทั้งหมด ที่เหลือเป็นผู้สูงอายุ ประชากรวัยเด็กมีจำนวนครึ่งหนึ่งของประชากรวัยแรงงาน ปัจจุบัน พ.ศ. 2564 ประเทศไทยมีประชากรวัยเด็กลดลงเหลือร้อยละ 16.6 และวัยแรงงานร้อยละ 64.6 ของประชากรทั้งหมด เรามีประชากรวัยเด็กเหลือเพียงประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรวัยแรงงานเท่านั้น
เด็กในวันนี้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า พวกเขาจะเข้าสู่ตลาดแรงงานแต่สามารถชดเชยประชากรวัยแรงงานที่กำลังกลายไปเป็นผู้สูงอายุได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ภาพด้านล่างนี้แสดงจำนวนประชากรเข้าและออกจากวัยแรงงาน โดยคาดว่าประชากรอายุ 20-24 ปี จะเป็นกลุ่มที่ส่วนใหญ่เรียนจบและกำลังหางานทำ ประชากรอายุ 60-64 ปี เป็นประชากรที่เกษียณอายุตาม พ.ร.บ. ผู้สูงอายุ จุดตัดของกราฟ ปี 2566 เป็นปีแรกที่จำนวนประชากรเข้าสู่วัยแรงงานไม่สามารถชดเชยจำนวนประชากรที่ออกจากวัยแรงงานได้ และช่องว่างระหว่างจำนวนประชากรเข้าและออกจากวัยแรงงานจะกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ สถานการณ์เช่นนี้ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน ดังที่เกิดขึ้นแล้วในญี่ปุ่นเพราะไม่สามารถนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศได้อย่างที่วางนโยบายไว้
จำนวนประชากรเข้าและออกวัยแรงงาน พ.ศ. 2553-2583
แหล่งข้อมูล: สร้างจากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583
(ฉบับปรับปรุง สิงหาคม พ.ศ. 2562)
กระบวนการจัดหาแรงงานจากต่างประเทศเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้มากกว่าการส่งเสริมให้ประชากรมีบุตรเพิ่ม สิงคโปร์มีความพยายามจะเพิ่มอัตราเกิดโดยใช้มาตรการจูงใจที่หลากหลาย แต่แนวโน้มอัตราเกิดในประเทศยังลดลงไปเรื่อยๆ การจัดตั้ง Ministry of Manpower ให้เป็นกระทรวงบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์มีประสิทธิภาพสูง เพราะสำรวจความต้องการแรงงานโดยระบุทักษะที่ชัดเจนและปรับข้อมูลทุกปี รวมทั้งสร้างแรงจูงใจและกำหนดเกณฑ์วีซ่านำเข้าแรงงานทักษะเฉพาะที่ขาดแคลนเท่านั้น พร้อมกันนี้สิงคโปร์ยังได้เพิ่มคุณภาพประชากรชาวสิงคโปร์เอง โดยปรับปรุงคุณภาพการศึกษาในการพัฒนาแรงงานให้ตรงเป้า เพื่อนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศให้น้อยที่สุด
สนามแข่งขันเพื่อแย่งชิงทรัพยากรมนุษย์นี้จะเกิดขึ้นทั่วโลก วิสัยทัศน์ของผู้นำและการตัดสินใจบนข้อมูลที่น่าเชื่อถือจะลดความรุนแรงของปัญหา เพราะ “วัคซีน ต้องฉีดก่อนการติดเชื้อ”
นักประชากรศาสตร์ของไทย มองทะลุปัญหาและเสนอนโยบายทดแทนประชากรในศตรวรรษที่ 21
ติดตามใน Prachakorn Form EP.6 | ความมั่นคงทางประชากรและสังคม: นโยบายการทดแทนประชากรในศตวรรษที่ 21
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อภิชาติ จำรัศฤทธิรงค์
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
วาทินี บุญชะลักษี
สักกรินทร์ นิยมศิลป์
พิชฌ์นิพัทธ์ วิชัยโน
ปราโมทย์ ประสาทกุล
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
กาญจนา เทียนลาย
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
วิภาพร จารุเรืองไพศาล
จรัมพร โห้ลำยอง
ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา
ปรียา พลอยระย้า
วิภาพร จารุเรืองไพศาล
จรัมพร โห้ลำยอง
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
ปราโมทย์ ประสาทกุล