The Prachakorn

ที่จอดรถในพื้นที่สาธารณะ: สำรวจ - โอกาส - ความท้าทาย


21 กรกฎาคม 2564
342



อาจารย์วรัญญู เสนาสุ
อาจารย์ประจำวิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

ที่จอดรถในพื้นที่สาธารณะของเมืองและการจัดสรรพื้นที่จอดรถ ถือเป็นประเด็นสำคัญและอยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และถือเป็นทรัพยากรร่วม (communal ownership) โดยปัจจุบันการจอดรถริมถนนหรือบนผิวถนน (on-street parking หรือ curb parking) ของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นระบบมาก่อนได้ก่อน (first-come, first-served) มากกว่าจะเป็นการจัดสรรตามความพึงพอใจจ่าย (willingness to pay) เมื่อที่จอดรถไม่มีมูลค่าตลาดที่เหมาะสม จึงนำไปสู่ปัญหาของใช้ทรัพยากรร่วมที่มากเกินไป (tragedy of the commons) เช่น การวนหาที่จอดรถ (cruising for parking) และการจอดรถในที่ห้ามจอด เมื่อประกอบกับการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ชัดเจน พฤติกรรมดังกล่าวจึงส่งผลต่อปริมาณการจราจร ระยะเวลาการเดินทาง และมลภาวะทางอากาศที่เพิ่มขึ้น การสร้างระบบจัดการการใช้พื้นที่จอดรถ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมือง จำเป็นต้องอาศัยการเก็บข้อมูลที่เหมาะสม และสะท้อนสถานะที่แท้จริงของพฤติกรรมการใช้รถยนต์ ที่อาจแตกต่างไปในแต่ละเมืองย่านเศรษฐกิจ และเวลา แม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดรถในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจตราข้อบัญญัติท้องถิ่นในการกำหนดประเภทรถและจัดให้มีที่จอดรถในเขตทางหลวงหรือในที่สาธารณะสำหรับรถแต่ละชนิดหรือประเภท กำหนดระเบียบการจอดรถในที่จอดรถ กำหนดระยะเวลา ระยะเวลาที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม อัตราค่าธรรมเนียม โดยผู้บริหารท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมการจอดรถในที่จอดรถให้เป็นไปตามระเบียบ ซึ่งตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายได้เปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการจัดเก็บอัตราค่าจอดรถได้ตามความเหมาะสม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นชมย้อนหลังได้ที่

Facebook Watch: https://fb.watch/v/3R-8sedJ2/

 

ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคมได้ที่

Website: ipsr.mahidol.ac.th
Facebook: IPSRMAHIDOLUNIVERSITY



CONTRIBUTOR

Related Posts
เมีย 2018 ณ เมียนมา

จรัมพร โห้ลำยอง

การส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ

กรกนก พงษ์ประดิษฐ์,ปิยวัฒน์ เกตุวงศา

โรคอ้วน

วรชัย ทองไทย

ความสุขของแม่

สุภาณี ปลื้มเจริญ

เพศหลากหลาย Happy SDG กับ ภาพจำ ที่เปลี่ยนผ่าน?

วรรณี หุตะแพทย์,ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต

แกะกล่อง Baby Box รอบโลก

มนสิการ กาญจนะจิตรา

คนไทยกับกิจกรรมทางกาย

นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์

อนาคตเด็กไทยหน้าติดจอ

นฤมล เหมะธุลิน,อภิชาติ แสงสว่าง

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th