The Prachakorn

ความแตกต่างทางประชากรและภูมิประเทศต่อความไม่มั่นคงทางอาหารของคนไทย ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19


สิรินทร์ยา พูลเกิด

30 พฤษภาคม 2566
511



บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการโครงการติดตามพฤติกรรมการกินผักและผลไม้ของคนไทย ดำเนินการโดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม สนับสนุนทุนวิจัยโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เก็บข้อมูลต่อเนื่องในปี 2561 2562 และ 2563 บทความมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขนาดปัญหาของความไม่มั่นคงทางอาหารของคนไทยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ปี 2563

บทความนี้ใช้ข้อมูลประชากรไทยอายุตั้งแต่ 15 ปี ของโครงการฯ ปี 2563 มาวิเคราะห์ รวม 5,066 คน โดยเน้นวิเคราะห์ความชุกของคนไทยที่มีความไม่มั่นคงทางอาหาร และปัจจัยทางประชากร ภาระหนี้สิน และบทบาทที่เป็นผู้จัดหาอาหารให้คนในครอบครัว จากผลการวิเคราะห์พบ คนไทยเกือบ 1 ใน 3 ของคนไทย (ร้อยละ 28.6) มีความไม่มั่นคงทางอาหาร โดยกลุ่มที่มีแนวโน้มมีความไม่มั่นคงทางอาหารมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มที่มีอายุ 15-29 ปี อาศัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุด นอกจากนี้ คนไทยที่รายงานว่ามีหนี้สินส่วนตัวอยู่ และทำหน้าที่จัดหาอาหารให้คนในครอบครัวเป็นหลัก มีโอกาสมีความไม่มั่นคงทางอาหารมากกว่ากลุ่มอื่นถึง 1.4 และ 2.3 เท่า ตามลำดับ

บทความนี้ได้เสนอแนะให้ ภาครัฐเพิ่มความใส่ใจในการออกนโยบายและมาตรการที่เพิ่มความมั่นคงทางอาหารของคนไทยให้มากขึ้น โดยการดำเนินการต้องกระจายครอบคลุมกลุ่มประชากรและพื้นที่ที่ยังพบปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารอยู่ นอกจากนี้ ภาครัฐควรเพิ่มการลงทุนพัฒนาหรือสร้างความเข้มแข็งให้กับแผนการส่งเสริมรายได้ในระดับครัวเรือน รวมถึงการช่วยลดภาระหนี้สินระดับบุคคลและครัวเรือน เพื่อเอื้อให้คนไทยกลุ่มเปราะบางสามารถเข้าถึงอาหารที่ดีมีประโยชน์ได้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน


ที่มา:

Phulkerd S, Thongcharoenchupong N, Chamratrithirong A, Gray RS, Pattaravanich U, Ungchusak C, Saonuam P. Socio-demographic and geographic disparities of population-level food insecurity during the COVID-19 pandemic in Thailand. Frontiers in Public Health 2023, 10:1071814.

 

 



CONTRIBUTOR

Related Posts
Work From Home (WFH)

ดนุสรณ์ โพธารินทร์

Work from home ไม่เหงา...เท่า Care from home

จงจิตต์ ฤทธิรงค์

ด้วยรักและโรคระบาด

ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ

ผู้หญิงในสถานการณ์โควิด-19

กัญญาพัชร สุทธิเกษม

คูถและมูตร

วรชัย ทองไทย

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th