รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล และ ผศ.ดร. สักรินทร์ นิยมศิลป์
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ประเทศไทยปัจจุบันกำลังเผชิญกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางโครงสร้างประชากร จากการเป็นสังคมผู้สูงอายุ ทำให้ขาดแคลนประชากรวัยแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งแรงงานไทยที่มีฝีมือและแรงงานกึ่งฝีมือไหลออกไปทำงานต่างประเทศจำนวนกว่าหนึ่งแสนคนในทุกๆ ปี ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ยิ่งสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า ความต้องการแรงงานข้ามชาติไม่ได้ลดลงเลย เมื่อมีการปิดประเทศกลับทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างมหาศาล โดยเราต้องการทั้งแรงงานระดับล่าง (unskilled and semi-skilled labour) จากประเทศเพื่อนบ้าน และแรงงานที่มีทักษะจากต่างประเทศ (foreign talents) สำหรับอุตสาหกรรมที่ทันสมัยในโลกยุค 4.0 ที่มีการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน (industrial disruption) คำถามสำคัญประการหนึ่งคือประเทศไทยเคยมีนโยบายนำเข้าแรงงานต่างชาติ (ทั้งแรงงานระดับล่างและแรงงานที่มีทักษะ) จริงๆ หรือไม่? หรือมาตรการต่างๆ ของภาครัฐ ทั้งในเรื่องการนำเข้าแรงงาน การจดทะเบียนแรงงาน และการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ เรื่องวีซ่า เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น และในอนาคต ท่ามกลางโลกยุค 4.0 ประเทศไทย ควรมีนโยบายนำเข้าแรงงานอย่างไร เพื่อให้เหมาะสมกับโครงสร้างประชากร และระดับการพัฒนาของประเทศ หวังว่าเวทีครั้งนี้จะช่วยสร้างบรรยากาศของการครุ่นคิดถึงสถานการณ์ด้านประชากรและแรงงานของไทยได้บ้างไม่มากก็น้อย
Facebook Link: https://fb.watch/5rfpUOR7V9/
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ณปภัช สัจนวกุล
อารี จำปากลาย
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
วรชัย ทองไทย
กัญญา อภิพรชัยสกุล
สัมโมทิก สวิชญาน,ปกรณ์ ลี้สกุล
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
จรัมพร โห้ลำยอง
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
นงเยาว์ บุญเจริญ
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
ปราโมทย์ ประสาทกุล