ทุกวันนี้ โลกออนไลน์มีอิทธิพลต่อเด็กและเยาวชนอย่างมาก เด็กและเยาวชนไทยที่มีอายุ 20 ปี หรือต่ำกว่าใช้เวลาอย่างมากกับอินเทอร์เน็ตในแต่ละวัน การสำรวจการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ปี 2020 พบว่า เด็กและเยาวชนใช้เวลาอยู่กับอินเทอร์เน็ตนานถึง 12 ชั่วโมง 43 นาที ต่อวัน1 โดยเด็กและเยาวชนเหล่านี้ใน 100 คน มีมากถึง 95 คนที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าสื่อสังคมออนไลน์ ในขณะที่อีก 5 คน ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ
ที่มา: Freepik https://www.freepik.com/free-vector/social-media-marketing-mobile-phone-concept_6849160
การสำรวจการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ปี 2020-2021 ยังพบว่า ในภาพรวม เยาวชนมีการรู้เท่าทันสื่อในระดับดี แต่เมื่อพิจารณาถึงทักษะที่เป็นองค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อ ทั้งหมด 3 ทักษะ ได้แก่ (1) การเข้าถึง (2) และการประเมิน (3) การสร้างสื่อ กลับพบว่า ทักษะการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย ด้านความเข้าใจอยู่ในระดับต้องปรับปรุง และด้านการประเมินผลหรือวิเคราะห์อยู่ในระดับพื้นฐาน2 ซึ่งทักษะการประเมินเป็นทักษะสำคัญของการใช้ความคิดในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ในสื่อ เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ ต่างจากทักษะการเข้าถึงที่มุ่งเน้นการค้นหาและสืบค้นข้อมูล เป็นทักษะในการเรียนรู้วิธีการค้นหาข้อมูล ในขณะที่ การสร้างสื่อเน้นความคิดสร้างสรรค์และการสื่อสาร ดังนั้น เยาวชนไทยอาจรู้เท่าทันสื่อในมิติของการเข้าถึงและการสร้างสื่อ กล่าวคือ รู้วิธีค้นหาข้อมูลและสามารถสร้างสื่อได้ แต่เยาวชนไทยกลับรู้ไม่เท่าไล่ไม่ทันสื่อในมิติของการขาดความเข้าใจและการวิเคราะห์ข้อมูลในสื่อ
ในมุมมองของผู้เขียนขอนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับระบบการศึกษา เพื่อตอบคำถามดังกล่าว เพราะระบบการศึกษาไทยมีวิธีการสอนให้เด็กท่องจำ3 โดยไม่คำนึงถึงการสอนให้เด็กเกิดความเข้าใจและใช้ความคิดเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ อีกทั้ง ระบบการศึกษาไทยเน้นให้เรียนหนัก มีการกวดวิชา และมีการแข่งขันสูง4
การรู้ถึงสถานการณ์วิกฤตย่อมเป็นโอกาสที่ดีในการแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาทักษะด้านความเข้าใจและการคิดวิเคราะห์ให้แก่เด็กและเยาวชนไทย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาเสนอให้มีการปรับวิธีการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learning) เช่น การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) การเรียนรู้โดยเน้นทักษะกระบวนการคิด เป็นต้น (Thinking Based Learning) 3 โดยการเรียนรู้เหล่านี้เป็นวิธีการพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การระดมสมอง และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งช่วยให้เด็กไทยเกิดความคิดและบูรณาการข้อมูลข่าวสารสารสนเทศสู่ทักษะการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินค่า เมื่อเด็กไทยคิดวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินค่าได้ ก็จะนำไปสู่การรู้เท่าทันสื่อต่อไป เพราะทักษะการคิดวิเคราะห์และประเมินค่าเป็นส่วนประกอบของการรู้เท่าทันสื่อ
อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ การเรียนการสอนในระบบการศึกษาของไทยยังเป็นแบบการเรียนรู้ที่ผู้สอนบรรยายและผู้เรียนนั่งฟัง (Passive Learning) อีกทั้ง การเกิดโรคระบาดอย่างเช่น โควิด-19 ทำให้เกิดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ 5 ซึ่งทำให้การเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กมีโอกาสในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ลดลง
เอกสารอ้างอิง
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
วรชัย ทองไทย
ปราโมทย์ ประสาทกุล
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
เพ็ญพิมล คงมนต์
อมรา สุนทรธาดา
ณปภัช สัจนวกุล
ภูเบศร์ สมุทรจักร
มนสิการ กาญจนะจิตรา
สักกรินทร์ นิยมศิลป์
มนสิการ กาญจนะจิตรา
สาสินี เทพสุวรรณ์
รศรินทร์ เกรย์
พงษ์ศักดิ์ สกุลทักษิณ,ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์
สุภาณี ปลื้มเจริญ
สุชาดา ทวีสิทธิ์
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
ปรียา พลอยระย้า
มนสิการ กาญจนะจิตรา
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
ดุสิตา พึ่งสำราญ
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
ศุทธิดา ชวนวัน
กมลชนก ขำสุวรรณ
เสฎฐวุฒิ ยุทธาวรกูล
มนสิการ กาญจนะจิตรา
กาญจนา เทียนลาย
วีรภาคย์ ซำศิริพงษ์
มนสิการ กาญจนะจิตรา
จุฬาลักษณ์ อิ่นแก้ว
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
พิมลพรรณ นิตย์นรา
รีนา ต๊ะดี
กาญจนา เทียนลาย
รีนา ต๊ะดี
ศุทธิดา ชวนวัน