ประชากรวัยแรงงานจำนวนมากในประเทศไทย ย้ายถิ่นเพื่อหาโอกาสทางเศรษฐกิจ ทั้งเพื่อการศึกษาและการประกอบอาชีพ หลายคนย้ายถิ่นจากครอบครัวมาทำงานคนเดียวในถิ่นปลายทาง บางคนสร้างครอบครัวในถิ่นที่อยู่ใหม่ บางคนมีเป้าหมายเพื่อหารายได้ส่งกลับไปยังครอบครัวในถิ่นเดิมที่มีพ่อแม่และญาติพี่น้องอาศัยอยู่ แต่บางคน (น่าจะ) โชคดีที่ได้ทำงานใกล้กับที่อยู่เดิมจึงไม่ต้องย้ายไปทำงานไกลบ้าน เมื่อผ่านช่วงวัยแรงงานจนเข้าสู่วัยเกษียณอายุ พวกเขาจึงต้องเตรียมตัวด้านที่อยู่อาศัย คนวัยแรงงานส่วนมากมีเป้าหมายชัดเจน และความหวังจะเป็นจริงได้ จึงต้องวางแผนไว้ล่วงหน้า
โครงการวิจัยเรื่อง “ความคาดหวัง การวางแผน และการเตรียมตัวของประชากรวัยทำงานต่างรุ่นอายุ และรูปแบบการอยู่อาศัยต่อชีวิตในวัยสูงอายุ” โดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สำรวจความต้องการถึงที่อยู่อาศัยที่คาดหวังเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ในปี 2564 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 1,734 คน ส่วนมากต้องการอยู่อาศัยในที่เดิม (ร้อยละ 56.1) รองลงมา คือ ที่อยู่อาศัยใหม่ของตนเองหรือของสมาชิกในครอบครัว (ร้อยละ 19.4) และย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมหรือบ้านเกิด (ร้อยละ 13.8) น่าสนใจที่คนวัยแรงงานบางส่วนคาดหวังจะไปอยู่ที่พักอาศัยหรือชุมชนที่สร้างขึ้นสำหรับผู้สูงอายุ หรือสถานสงเคราะห์ สัดส่วนรวมกันประมาณ ร้อยละ 7 (แผนภูมิ 1)
แผนภูมิ 1 ที่อยู่อาศัยที่ประชากรวัยแรงงานคาดหวังเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ (ร้อยละ)
สมาชิกที่อาศัยอยู่ด้วยกัน สำคัญไม่น้อยกว่าที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้าง เพราะจะเป็นบุคคลที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทุกด้าน ทั้งการดูแลสุขภาพ การเงิน และจิตใจ คนวัยแรงงานส่วนมาก คาดหวังจะอยู่กับครอบครัว ได้แก่ คู่สมรส ลูก พ่อแม่ พี่น้อง และหลาน ประมาณ 1 ใน 5 ของผู้ตอบแบบสอบถามต้องการอยู่คนเดียว และร้อยละ 8.6 ต้องการอยู่ในสถานสงเคราะห์หรือบ้านพักผู้สูงอายุ (แผนภูมิ 2)
แผนภูมิ 2 บุคคลที่ประชากรวัยแรงงานคาดหวังจะอาศัยอยู่ด้วย เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ (ร้อยละ)
ผลการสำรวจ 2 ประเด็นนี้ ทำให้เห็นว่า การสำรวจที่อยู่อาศัยที่เป็นสิ่งปลูกสร้างพบว่า มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่ตอบว่าต้องการจะอาศัยในสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ แต่เมื่อถามถึงบุคคลที่จะอาศัยอยู่ด้วย กลับมีคำตอบว่าต้องการอยู่ในสถานสงเคราะห์หรือบ้านพักผู้สูงอายุ สูงกว่าถึงเกือบร้อยละ 10 เพื่อให้ได้มีคนดูแลเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ
การอยู่กับสมาชิกครอบครัวและอาศัยอยู่ที่เดิมเป็นทางเลือกส่วนใหญ่ของคนวัยแรงงาน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเลือกได้ ผู้ที่ไม่ได้มีคู่ชีวิต ลูก หรือสมาชิกครอบครัวที่สามารถพึ่งพาได้ จึงคาดหวังจะมีสถานสงเคราะห์ดูแลเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุจนถึงวาระท้ายความต้องการนี้จะเพิ่มมากขึ้นในคนรุ่นใหม่ที่ไม่แต่งงาน แผนภูมิ 3 แสดงให้เห็นว่า กลุ่มผู้ที่ต้องการอยู่ในสถานสงเคราะห์หรือบ้านพักผู้สูงอายุส่วนมากเป็นผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป และสถานภาพโสด
แผนภูมิ 3 ผู้ที่คาดว่าจะอาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์/บ้านพักผู้สูงอายุ จำแนกตามรุ่นอายุและสถานภาพสมรส (ร้อยละ)
หมายเหตุ: เสนอเฉพาะการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป เนื่องจากเป็นส่วนใหญ่ของผู้ต้องการอาศัยในสถานสงเคราะห์/บ้านพักคนชรา (n=120 คน)
ประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว คือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 นอกจากนี้ คนวัยแรงงานมีแนวโน้มจะไม่มีลูกจากสาเหตุหลายประการที่ผู้นำและนักนโยบายควรทำความเข้าใจ พวกเขาจึงอาจขาดผู้ดูแลเมื่อเป็นผู้สูงอายุที่ร่างกายเสื่อมถอยจนไม่สามารถดูแลตนเองได้ สถานสงเคราะห์สำหรับผู้สูงอายุจึงกลายเป็นความหวังที่คนวัยแรงงานกลุ่มนี้ต้องการพึ่งพิง รัฐจึงควรเตรียมการให้มีสถานสงเคราะห์และผู้ดูแลอย่างเพียงพอ เข้าถึงได้ ในอัตราที่จ่ายไหว เพื่อให้ประชากรทุกคนได้อยู่อย่างมีศักดิ์ศรีตราบจนวาระท้าย
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
โยธิน แสวงดี
ขวัญชนก ใจซื่อกุล
สุพัตรา ฌานประภัสร์
สุริยาพร จันทร์เจริญ
กัญญา อภิพรชัยสกุล
พิมลพรรณ นิตย์นรา
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
สิรินทร์ยา พูลเกิด
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
สุรีย์พร พันพึ่ง,ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ศุทธิดา ชวนวัน
วรชัย ทองไทย
ปิยะวัฒน์ สวัสดิ์จู,สุภาณี ปลื้มเจริญ
ธีรนันท์ ธีรเสนี
ศุทธิดา ชวนวัน
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
พงษ์ศักดิ์ สกุลทักษิณ,ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
นนทวัชร์ แสงลออ
ปราโมทย์ ประสาทกุล