The Prachakorn

เปิดแหล่งรายได้ของผู้สูงอายุไทยที่ได้จากรัฐ


กาญจนา เทียนลาย

31 ตุลาคม 2566
842



ปัจจุบัน ประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว คือ มีจำนวนผู้สูงอายุประมาณ 13 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ประเทศไทยกำหนดอายุเกษียณที่ 60 ปี ในขณะที่อายุคาดเฉลี่ยเมื่ออายุ 60 ปี หรือจำนวนปีที่ผู้เกษียณอายุคาดว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปเป็นระยะเวลาอีก 21 ปีเลยทีเดียว

บทความนี้นำเสนอสวัสดิการด้านการเงินที่รัฐจัดให้แก่ผู้สูงอายุไทยจาก 2 แหล่งหลัก คือ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และเบี้ยหวัด ในช่วงปี 2563-2565 ผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ “ประมาณ 10 ล้านคน” ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนคนและงบประมาณ “ปีละกว่า 8 หมื่นล้านบาท” (เบี้ยยังชีพเริ่มจ่ายครั้งแรกเมื่อปี 2552 และปัจจุบันกำหนดการจ่ายเงินแบบขั้นบันไดตามช่วงอายุ ตั้งแต่ 600 จนถึง 1,000 บาท)

ส่วนข้าราชการที่เกษียณอายุได้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ ซึ่งพบว่า มีผู้สูงอายุที่ได้รับ “ประมาณ 8 แสนคน” ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนคนและงบประมาณเช่นเดียวกัน “ปีละกว่า 2.6 แสนล้านบาทต่อปี”

สวัสดิการด้านการเงินเพื่อผู้สูงอายุไทย ปี 2563 – 2565


ที่มา: กระทรวงการคลัง


ภาพปก freepik.com (premium license)



CONTRIBUTOR

Related Posts
สูงวัยแต่ไม่แก่

ปราโมทย์ ประสาทกุล

เพศหลากหลาย Happy SDG กับ ภาพจำ ที่เปลี่ยนผ่าน?

วรรณี หุตะแพทย์,ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต

คุกโลก......ล้น

อมรา สุนทรธาดา

ดูแลผู้ดูแลสักนิด

กาญจนา ตั้งชลทิพย์,อารี จำปากลาย

ครอบครัวของเด็กซีอัลฟา

จงจิตต์ ฤทธิรงค์

ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล

ปราโมทย์ ประสาทกุล

สังคมสูงวัย อย่ามองแค่อายุ

มนสิการ กาญจนะจิตรา

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th