หาวเป็นอาการที่เริ่มด้วยการหายใจเข้าทางจมูกพร้อมทั้งอ้าปากให้กว้างที่สุด แล้วจึงหายใจออกทางปาก (ดูรูป) หาวเกิดจากความเหน็ดเหนื่อย การทำงานหนัก ความเครียด ความเบื่อหน่าย หรือการขาดสิ่งกระตุ้น เมื่อได้หาวแล้ว เราก็จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาทันที
รูป เด็กทารกกำลังหาว
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Yawn สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2564
เมื่อพูดถึงหาว เรามักจะนึกถึงวลี “ง่วงเหงาหาวนอน” อันเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้สมองเป็นเวลานาน เช่น นักเรียนที่อ่านหนังสือ ทำการบ้าน หรือเตรียมตัวสอบ นักวิจัยที่ต้องเขียนรายงานให้เสร็จ
วิธีแก้ง่วงที่นิยมใช้กันมากคือ ดื่มกาแฟหรือทานยาแก้ง่วง ซึ่งวิธีหลังถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายอย่างยิ่ง ถ้าทานเกินขนาดหรือเป็นประจำ ส่วนวิธีแรกก็มีผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวเช่นกัน นอกจากนี้ ทั้งสองวิธีก็ยังเป็นวิธีแก้ไขที่ต้องพึ่งสิ่งภายนอก อันถือว่าไม่ยั่งยืน เพราะสิ่งภายนอกอาจขาดแคลนเมื่อไรก็ได้ สำหรับวิธีที่ยั่งยืนกว่าคือ การพึ่งสิ่งภายในหรือการพึ่งตนเอง
ศาสนาพุทธเป็นอเทวนิยมคือ ไม่เชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้า แต่เชื่อในกฎธรรมชาติและกฎแห่งกรรม (กรรมคือการกระทำที่เจตนา) กล่าวคือ มนุษย์สามารถบันดาลชีวิตของตนเองได้ด้วยผลของการกระทำของตน พุทธศาสนาจึงไม่มีการสวดอ้อนวอน มีแต่สอนให้พึ่งตนเอง และมีคำสอนที่สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน เช่น เบญจศีล-เบญจธรรม อริยสัจ 4 มรรค 8 โยนิโสมนสิการ อิทธิบาท 4 พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 ทิศ 6
สำหรับวิธีแก้ง่วงนั้น พระไตรปิฎกได้กล่าวถึงวิธีแก้ง่วง 8 ประการ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระโมคคัลลานะ อันเป็นวิธีแก้ง่วงตามลำดับ จากง่วงน้อยไปหาง่วงมาก ดังนี้
จะเห็นได้ว่า ในท้ายที่สุดแล้ว ถ้าง่วงมากก็ให้นอนเสีย แต่ให้เป็นการนอนอย่างมีสติ (ความมีสติ ถือเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญอันหนึ่งของพุทธศาสนา นอกเหนือไปจากความไม่ประมาท และความเพียร)
หาวเกิดขึ้นกับสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด โดยการหาวของสัตว์แต่ละชนิดเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ต่างกัน เช่น ลิงบาบูนหาวเมื่อต้องการข่มขู่ศัตรู ปลากัดหาวก่อนที่จะกัดคู่ต่อสู้ หนูตะเภาหาวเพื่อแสดงอำนาจหรือเมื่อโกรธ งูหาวหลังจากกินอิ่มแล้วเพื่อจัดขากรรไกให้เข้าที่ นกแพนกวินหาวเมื่อเกี้ยวสาว สุนัขหาวเมื่อเห็นคนหาวหรือกำลังงง และปลาจะหาวถี่ขึ้นเมื่อขาดออกซิเจนหรือเมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น
เมื่ออ่านถึงตรงนี้ ผู้อ่านหลายคนอาจจะหาวไปแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะการหาวอาจเกิดขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นจากสิ่งภายนอกก็ได้ เช่น เห็นคนอื่นหาว เห็นรูปคนหรือสัตว์หาว หรือแม้แต่ได้ยินหรือได้อ่านคำว่า “หาว” โดยพฤติกรรมที่ติดต่อกันได้ของหาวนี้ เป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์ตลอดมา แต่ก็ยังไม่มีคำตอบ (หรือทฤษฎี) ที่ชัดเจนว่า ทำไมหาวจึงติดต่อกันได้ จะมีก็แต่สมมุติฐานที่ยังต้องพิสูจน์เท่านั้น
การติดต่อกันได้ของหาวเกิดขึ้นเพราะความเห็นอกเห็นใจ ก็เป็นสมมุติฐานหนึ่งที่ยังต้องการพิสูจน์อยู่ โดยงานวิจัยพฤติกรรมชิ้นหนึ่งได้พบว่า ในบรรดาปัจจัยทั้งหลาย เช่น เพศ สัญชาติ และประสาทสัมผัส 5 (ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ความผูกพันทางสังคมเท่านั้นที่ทำนายการเกิดขึ้น ความถี่ และช่วงเวลาของการติดต่อกันของหาว นอกจากนี้ในบรรดาตัวชี้วัดของความเห็นอกเห็นใจ อัตราการติดต่อกันของหาวจะสูงที่สุดในหมู่เครือญาติ รองลงมาคือ ในหมู่เพื่อนฝูง ในหมู่คนรู้จัก และน้อยที่สุดในหมู่คนแปลกหน้า ยิ่งกว่านั้น ในหมู่คนในครัวเรือนเดียวกัน การเกิดขึ้นและความบ่อยครั้งของการติดต่อกันของหาวจะมีมากที่สุด ส่วนในหมู่คนแปลกหน้าและในหมู่คนรู้จัก ช่วงเวลาของการติดต่อกันของหาวจะเกิดขึ้นช้ากว่า เมื่อเทียบกับในหมู่เพื่อนและในหมู่ญาติ โดยสรุป สาเหตุสำคัญของการติดต่อกันของหาวคือ ความใกล้ชิดทางอารมณ์ระหว่างปัจเจกบุคคลนั่นเอง
ในเมื่อสัตว์ก็หาวเป็นเหมือนกัน นักวิจัยหัวใสจึงอยากรู้ว่า การติดต่อกันของหาวนี้ มีอยู่ในสัตว์ชนิดใดบ้าง ซึ่งก็ทำให้นักวิจัยกลุ่มนี้ได้รับรางวัลอีกโนเบลไปตามระเบียบ นั่นคือ รางวัลอีกโนเบลสาขาสรีรวิทยาในปี 2554 ที่มอบให้กับนักวิจัยยุโรป 4 คน (Anna Wilkinson, Natalie Sebanz, Isabella Mandl และ Ludwig Huber) ที่ได้ร่วมกันทำวิจัยทดลองเกี่ยวกับการติดต่อกันของหาวในหมู่เต่าเท้าแดง (Red-Footed Tortoise) แล้วพบว่า การหาวจะไม่ติดต่อกันในหมู่เต่าเท้าแดง
รางวัลอีกโนเบล: รางวัลสำหรับงานวิจัยที่ทำให้ “ขำ” ก่อน “คิด”
หมายเหตุ: ปรับแก้จาก “หาว” ใน ประชากรและการพัฒนา 32(3) กุมภาพันธ์-มีนาคม 2555: 8
กัญญา อภิพรชัยสกุล
ภาสกร บุญคุ้ม
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ศุทธิดา ชวนวัน
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
นันท์สินี ศิริโกสุม,ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
กุลวีณ์ ศิริรัตน์มงคล
อภิชัย อารยะเจริญชัย
อมรา สุนทรธาดา
กัญญา อภิพรชัยสกุล
กาญจนา เทียนลาย
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
วรชัย ทองไทย
วรชัย ทองไทย