เมื่อปี 2551 ผมได้รับแจ้งข่าวดีจากผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ผมคือ 1 ใน 4 ของผู้โชคดีจากการจับฉลากทั้งหมด 45 คน ที่ถูกเสนอรายชื่อเพื่อร่วมเป็นตัวแทนจากกว่า 30 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชีย โอเชียเนีย และแอฟริกา ตอนนั้นรู้สึกดีใจและตื่นเต้นมากที่ครั้งหนึ่งในชีวิตจะได้เดินทางไปทวีปแอฟริกา ดินแดนที่ผมรู้จักผ่านสารคดีเท่านั้น ความโชคดีทำให้ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 8 ของ INDEPTH NETWORK ณ โรงแรมไวท์แซน เมืองดาเอสซาราม ประเทศแทนซาเนีย ในฐานะตัวแทนผู้คุมงานภาคสนามจากศูนย์ปฏิบัติการวิจัยกาญจนบุรี การเข้าร่วมประชุมทำให้ผมได้มีโอกาสเรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการเก็บข้อมูลภาคสนามมากขึ้น การเก็บข้อมูลที่ดีและถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัยนั้น สามารถใช้เป็นตัวแทนกลุ่มประชากรได้ ทำให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น และที่สำคัญผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์และแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างแท้จริง สำหรับการเดินทางไปแอฟริกาครั้งแรกของผมนั้น จำเป็นต้องฉีดวัคซีนโรคไข้เหลือง (Yellow fever vaccine) และมีเอกสารรับรองการฉีดวัคซีน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองตรวจสอบก่อนเข้าประเทศแทนซาเนีย เพราะเป็นกฎสาธารณสุขระหว่างประเทศ
ใครจะคิดว่าปี 2564 การเดินทางไปต่างประเทศของทุกคนบนโลกใบนี้จำเป็นจะต้องมีวัคซีนพาสปอร์ต เพื่อยืนยันว่าได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบถ้วนแล้ว หลายประเทศได้เริ่มเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยวกันได้อีกครั้ง แต่นักท่องเที่ยวจะต้องมีวัคซีนพาสปอร์ตก่อนออกเดินทางไปต่างประเทศ ผมขอแนะนำให้เตรียมยื่นขอเอกสารวัคซีนพาสปอร์ตไว้แต่เนิ่นๆ เพราะสายการบินน่าจะมีตั๋วโปรโมชั่นราคาถูกมากระตุ้นการเดินทางอย่างแน่นอน โดยสามารถขอเอกสารรับรองผ่านแอพพลิเคชั่นหมอพร้อม หรือเดินทางไปขอเอกสารวัคซีนพาสปอร์ตได้ด้วยตนเองตามหน่วยงานที่กรมควบคุมโรคกำหนดไว้
รูป: ผู้โชคดีทั้ง 4 ท่าน ที่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ภาคสนาม
ภาพโดย: นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
มนสิการ กาญจนะจิตรา
สลาลี สมบัติมี
ประทีป นัยนา
ณปภัช สัจนวกุล
กัญญา อภิพรชัยสกุล
กัญญา อภิพรชัยสกุล
นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์
พรสุรีย์ จิวานานนท์
บุรเทพ โชคธนานุกูล
กุลภา วจนสาระ
ปราโมทย์ ประสาทกุล
บุรเทพ โชคธนานุกูล
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
สักกรินทร์ นิยมศิลป์
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
วรชัย ทองไทย
วรชัย ทองไทย