บทคัดย่อ
การระบาดของโรคโควิด 19 ในยุคปัจจุบันส่งผลกระทบต่อประชากรกลุ่มต่างๆ ทั่วโลก โดยการแพร่กระจายของโรคดังกล่าวไม่มีทีท่าว่าจะสงบลงจนกว่าจะมีการค้นพบวัคซีนเพื่อรักษาโรค ท่ามกลางสภาวการณ์เช่นนี้นักวิชาการจำนวนมากมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ผู้ลี้ภัย ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีความเปราะบางอยู่แต่เดิม มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบอย่างหนักหากสมาชิกในครอบครัวหรือชุมชนได้รับเชื้อ เนื่องจากผู้ลี้ภัยมักจะอาศัยรวมกันในพื้นที่จำกัดภายในประเทศที่ตนเองพักพิงเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ ปัญหาหลักของผู้ลี้ภัย คือ ข้อจำกัดในการเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากผ้า หรือ หน้ากากป้องกันประเภทอื่นๆ ด้วยขาดกำลังทรัพย์หรือขาดการเข้าถึงการช่วยเหลือ นอกจากนี้ การรักษาพยาบาลในกรณีติดเชื้อก็เป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ที่ผู้ลี้ภัยเข้าไปพักพิงชั่วคราวมักให้ความสำคัญกับพลเมืองของตนเองก่อนเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้ เมื่อมองในมิติสุขภาพ วิถีชีวิตของผู้ลี้ภัยท่ามกลางท่ามกลางวิกฤตโควิด 19 จึงเต็มไปด้วยความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ซึ่งยังไม่นับรวมความท้าทายเรื่องปากท้องและโอกาสในการย้ายไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม
Facebook Link: https://www.facebook.com/IPSRMAHIDOLUNIVERSITY/videos/596912094250953/
ธีระพจน์ คำรณฤทธิศร
สิรินทร์ยา พูลเกิด
กุลภา วจนสาระ
ปาริฉัตร นาครักษา
สลาลี สมบัติมี
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
อมรา สุนทรธาดา
มนสิการ กาญจนะจิตรา
อมรา สุนทรธาดา
นันท์สินี ศิริโกสุม,ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
สุรีย์พร พันพึ่ง
อมรา สุนทรธาดา
ศิรดา เขมานิฏฐาไท
ภาณุภัทร จิตเที่ยง
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
เพ็ญพิมล คงมนต์
กาญจนา ตั้งชลทิพย์,ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์,อารี จำปากลาย
กรกนก พงษ์ประดิษฐ์,ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
ภูเบศร์ สมุทรจักร
ปราโมทย์ ประสาทกุล