รูปแบบการสร้างเสริมองค์กรแห่งความสุข ที่พร้อมใช้ ประกอบด้วยแนวคิดแนวปฏิบัติ ระบบคุณภาพการขับเคลื่อน เครื่องมือวัด และติดตามผลสำเร็จรูป นำเสนอผ่านตารางแสดงผลสำเร็จที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของคนทำงานและองค์กรแห่งความสุข ตามเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนด รูปแบบฯ นี้ ร่วมกันพัฒนาและสร้างสรรค์โดย ศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายองค์กรแห่งความสุขทุกภาคส่วน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
“ช่วยให้คนทำงานองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เนื่องจากความสุขเป็น “นามธรรม” HAPPINOMETER สามารถวัดและสะท้อนผลความสุขบุคคลจนเกิดเป็น “รูปธรรมได้” และเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดทิศทางองค์กรว่า ควรจะสร้างสุขหรือปรับแก้ความสุขในมิติใด เกิด intervention แก้ปัญหาตรงจุด เราพบว่า บุคลากรมีความสุขเพิ่มขึ้นในมิติต่างๆ ที่ส่งผลต่อการทำงาน”
(ผู้อำนวยการ องค์กร 1, 2565)
“HAPPINOMETER MODEL สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง ตอบวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ต้องการหาเครื่องมือที่ใช้วัดจุดอ่อน จุดแข็ง หรืออุปสรรค ที่ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของกำลังพลลดลงหรือมีความสุขน้อยลง HAPPINOMETER ที่ใช้สำรวจฯ มีความเป็นวิชาการและมีมาตรฐาน แสดงผลชี้ชัดว่าปัญหาเหล่านี้ เกิดขึ้นจากส่วนใด และจุดที่ควรต้องจัดลำดับความสำคัญโดยมุ่งเป้าเพื่อพัฒนาเป็นการเร่งด่วนเป็นเรื่องใด”
(รองผู้อำนวยการ องค์กร 1, 2565)
“HAPPINOMETER เป็นเครื่องมือที่สะท้อนให้เห็นถึงมิติความสุขต่างๆ ของโรงพยาบาลได้อย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะมิติด้านการเงิน ในปี 2563 เกิดโครงการพิเศษ “รวมหนี้” นำเงินจากสหกรณ์ไปปิดหนี้ ผลลัพธ์ของโครงการเป็นไปในทิศทางที่ดีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน”
(ที่ปรึกษา องค์กร 2 (อดีตนักสร้างสุข), 2565)
“บุคลากรได้มีโอกาสทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน ทำให้ได้รู้จักมีโอกาสพูดคุยกัน จากเดิมที่จะรวมกลุ่มอยู่เฉพาะวิชาชีพของตน ทำให้การติดต่อประสานงานในเรื่องต่างๆ ง่ายขึ้น ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน”
(ผู้เข้าร่วมกิจกรรม องค์กร 1, 2565)
“การทำงานของบุคลากรมีประสิทธิภาพ สุขภาพ และความสุขของคนในองค์กรเพิ่มขึ้นหลังจากทำกิจกรรม มีสุขภาพที่แข็งแรงและเรื่องการเงินที่มีวินัยในการออม ทำให้ความเครียดและความกังวลลดลง มีความสุขในการทำงาน และมีระเบียบวินัยมากขึ้น”
(ผู้เข้าร่วมกิจกรรม องค์กร 2, 2565)
“ความสัมพันธ์ของกำ.ลังพลในองค์กรมีมากขึ้น จากการจัดกิจกรรมมีการสร้างช่องทางการติดต่อในแต่ละกิจกรรม เพื่อแชร์ข้อมูลให้กับผู้ร่วมกิจกรรม หลังจากจบโครงการแล้ว พบว่า ยังมีการติดต่อภายในกลุ่มต่างๆ สนิทสนมมากขึ้น ความเครียดต่อเรื่องอื่นๆ ลดลง”
(ผู้เข้าร่วมกิจกรรม องค์กร 2, 2565)
“ภาระในการผ่อนชำระหนี้น้อยลงในจำนวนหนี้เท่าเดิม และการมีรายได้เสริม บุคลากรสามารถจัดสรรเงินไปใช้ในเรื่องสาธารณูปโภค การศึกษาบุตร ส่งผลให้ความกังวลในเรื่องเงินลดน้อยลง ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”
(ผู้เข้าร่วมกิจกรรม องค์กร 1, 2565)
“ดูได้จาก การประเมินตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข HAPPINOMETER ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของหน่วยงานและหน่วยงานในกำกับของโรงพยาบาล”
(ผู้เข้าร่วมกิจกรรม องค์กร 2, 2565)
“HAPPINOMETER MODEL ช่วยได้เยอะ การเขียนโครงการ/แผนปฏิบัติการเป็นสิ่งที่ดีมาก ได้ให้ความรู้กับกำลังพลในการจัดทำแผนสร้างความสุขและคอยช่วยปรับปรุงแก้ไข จนส่งผลให้โครงการประสบความสำเร็จ”
(ผู้บริหารองค์กร องค์กร 1, 2565)
“หลายกิจกรรมตอบโจทย์การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของกำลังพลตามที่ผู้บริหารได้วาง มีเสียงตอบรับในด้านที่ดี และมีความต้องการที่จะเข้าร่วมกิจกรรมหากมีการจัดขึ้นอีกครั้ง มีความเป็นไปได้ที่จะขยายแนวทางในการดำเนินกิจกรรมสร้างสุข”
(นักสร้างสุข องค์กร 1, 2565)
“ปัจจุบันการสร้างเสริมองค์กรแห่งความสุข ถือเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ใช้หลักพฤติกรรมบริการที่เป็นเลิศ (ESB) เข้ามาเสริมคุณภาพการบริการผู้ป่วย ทำให้รู้สึกผูกพันกับองค์กร พนักงานรู้สึกมีคุณค่า ในอนาคตอาจจะยังใช้เครื่องมือนี้อยู่ หรืออาจจะปรับเปลี่ยนเครื่องมือในชุดที่ดีกว่า ตามบริบทและความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน”
(ผู้อำนวยการ องค์กร 2, 2565)
เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า HAPPINOMETER Happy Workplace Model ไม่ใช่สร้างเสริมแค่เพียงตัวของบุคลากรและองค์กร กระบวนการ HAPPINOMETER Happy Workplace Model ได้สร้างวัฒนธรรมองค์กรขึ้นมาใหม่ ส่งผลให้บุคลากรและองค์กรเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เป็นวัฒนธรรมแห่งความสุขและความผูกพันที่หลอมละลาย generation และทลายกำแพงของความไม่เข้าใจกัน จนกลายเป็นหนึ่งเดียว
อ้างอิง
การถอดบทเรียนองค์กรแห่งความสุขต้นแบบ, โครงการศึกษาวิจัยนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร เพื่อนำไปสู่องค์กรสุขภาวะและความยั่งยืน, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, กรกฎาคม 2565.
วรชัย ทองไทย
อมรา สุนทรธาดา
ณัฐณิชา ลอยฟ้า
ประสาน อิงคนันท์
ศุทธิดา ชวนวัน
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
พงษ์ศักดิ์ สกุลทักษิณ,ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์
กาญจนา เทียนลาย
นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
สิรินทร์ยา พูลเกิด
วรรณี หุตะแพทย์,ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต
นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์
ปัณณวัฒน์ เถื่อนกลิ่น
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
ปราโมทย์ ประสาทกุล