ในปัจจุบันทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตและการให้บริการตามแนวทางชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ที่ประชาชนกำลังเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตได้มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันต่างๆ ทั้งในเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อติดตามข้อมูลข่าวสาร ความบันเทิง ซื้อสินค้าออนไลน์ ทำธุรกรรมทางการเงิน และเพื่อติดต่อสื่อสารกับเพื่อนหรือลูกหลานที่อยู่ห่างไกลกัน
จากการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พบว่า ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเป็นผู้ใช้อุปกรณ์ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น ในปี 2566 ประเทศไทยมีจำนวนประชากรที่อายุ 50 ปีขึ้นไปที่ใช้อุปกรณ์ดิจิทัล 18.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 76.7 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2565 คิดเป็นร้อยละ 5.7 อย่างไรก็ตาม ภัยคุกคามที่มาพร้อมกับประโยชน์ของเทคโนโลยีดิจิทัลนี้อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และมีความเสี่ยงสูงกับผู้สูงอายุบางกลุ่มที่รู้ไม่เท่าทันสื่อออนไลน์ จากสถิติการประสบภัยจากการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล พบว่ามีผู้สูงอายุที่เคยประสบภัยจากการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลมากถึงร้อยละ 49.7 ซึ่งส่วนใหญ่ถูกหลอกหรือถูกรบกวนโดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์มากที่สุด ร้อยละ 44.2 รองลงมาคือ ได้รับข่าวปลอม (fake news) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น ข่าวสร้างความขัดแย้ง สร้างความเกลียดชัง สร้างความสับสน ตื่นตระหนกให้ประชาชน ร้อยละ 19.5 และถูกหลอกจากการซื้อของออนไลน์ เช่น สั่งซื้อของออนไลน์แล้วไม่ได้ของ ซื้อของแล้วได้ของไม่เป็นไปตามรูปแบบที่สั่ง ร้อยละ 8.1
ข้อมูล: การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน ปี 2566
บทความนี้ขอนำเสนอ 4 วิธีให้ผู้สูงอายุสามารถใช้อุปกรณ์ดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย ดังนี้
1. การรับสายอย่างปลอดภัย เมื่อมีเลขหมายโทรศัพท์แปลกๆ โทรเข้ามา สิ่งแรกที่ผู้สูงอายุควรทำคือ การตั้งสติแล้วเตือนตัวเองว่าเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานต่างๆ ที่โทรศัพท์เข้ามา อาจจะไม่ใช่พนักงานจริง หากเป็นพนักงานจริงจะต้องแจ้งชื่อ-นามสกุลของพนักงานได้ชัดเจน และสามารถตรวจสอบข้อมูลได้หลังจากวางสาย โดยวิธีการตรวจสอบสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
2. อยู่อย่างปลอดภัยในโลกโซเชียล สื่อออนไลน์ในปัจจุบันเปิดกว้างให้ทุกคนสามารถสร้างข้อมูลได้อย่างไม่จำกัด และมีวิธีมากมายให้คนทั่วไปหลงเชื่อและเห็นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเขียนข้อความที่น่าเชื่อถือ การจัดรูปแบบข้อความให้เป็นทางการ หรือแม้แต่การแนบแหล่งข้อมูลที่เป็นเท็จ ดังนั้น ผู้สูงอายุที่รับข่าวสารผ่านสังคมสื่อออนไลน์ต่างๆ จำเป็นต้องคิด ไตร่ตรอง และตรวจสอบข้อมูลให้ดีว่าเป็นจริงหรือไม่ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุไม่ควรใช้ภาษาและถ้อยคำที่รุนแรงในการแสดงความคิดเห็น เนื่องจากผู้รับสารจะตีความข้อความเหล่านั้นจากความรู้สึก ทำให้ผลลัพธ์ไม่ต่างจากการแสดงอารมณ์จากสีหน้า และภาษากายในเชิงลบ
3. การซื้อของออนไลน์อย่างปลอดภัย โดยซื้อผ่านเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ ซึ่งสามารถสังเกตความปลอดภัยของเว็บไซต์ที่ทำการซื้อขายจากสัญลักษณ์แม่กุญแจด้านหน้าที่อยู่ของเว็บไซต์ (URL) หรือร้านค้าออนไลน์ที่มีเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ เช่น เครื่องหมาย DBD Registered หรือ DBD Verified จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ต (Wi-Fi) สาธารณะหรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากเป็นช่องทางที่อาชญากรสามารถเจาะระบบเพื่อเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์มือถือได้ ซึ่งไม่ปลอดภัยกับผู้สูงอายุที่กำลังทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์
4. พิจารณาลิงก์ (link) ที่อยู่บนเว็บไซต์หรือข้อความที่ถูกส่งมาผ่านบริการข้อความสั้น (SMS) ก่อนคลิก อาชญากรมักจะหลอกล่อให้ผู้สูงอายุที่รู้ไม่เท่าทันโลกออนไลน์คลิกไปยังลิงก์ข้อมูลเพื่อส่งต่อไปยังเว็บไซต์ที่มีอันตราย ทำให้เกิดการโจรกรรมข้อมูลที่สำคัญ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการเข้าเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมหรือผิดกฎหมาย ไม่คลิกไฟล์แนบจากผู้อื่นที่ไม่รู้จักกันมาก่อน และใช้วิจารณญาณก่อนคลิกลิงก์ต่างๆ หรือขอคำแนะนำจากลูกหลานในการพิจารณาว่าข้อมูลหรือลิงก์ที่ถูกส่งต่อๆ กันมามีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด
เอกสารอ้างอิง
ภาพประกอบ freepik.com (premium license)
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
ศุทธิดา ชวนวัน
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
กัญญา อภิพรชัยสกุล
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
กาญจนา เทียนลาย
กาญจนา เทียนลาย
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
กาญจนา เทียนลาย
ศุทธิดา ชวนวัน
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
สุรีย์พร พันพึ่ง,ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์
จุฬาลักษณ์ อิ่นแก้ว
สักกรินทร์ นิยมศิลป์
กฤตยา อาชวนิจกุล
พิชฌ์นิพัทธ์ วิชัยโน
สักกรินทร์ นิยมศิลป์
สุรีย์พร พันพึ่ง
กัญญา อภิพรชัยสกุล
สุริยาพร จันทร์เจริญ