ดร.ดิษย์ มณีพิทักษ์
กองมาตรฐานการประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง
สภาพสังคมไทยแบบ ‘รวยกระจุก จนกระจาย’ เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่สำคัญของประเทศ ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการถือครองทรัพย์สินโดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่มีต้นทุนต่ำมากเมื่อเทียบกับในหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลให้เกิดการสะสมทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และสามารถส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่นได้ ผู้ที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์มากก็สามารถใช้ทรัพย์นั้น ๆ หาประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของการเก็งกำไรที่ดิน การใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อกู้เงินมาลงทุน รายได้ค่าเช่า ฯลฯ ในอดีตที่ผ่านมา ภาพที่ขาดหายไปจากระบบการคลังของไทยคือภาษีที่ดินที่มีโครงสร้างที่เหมาะสม โดยภาษีดังกล่าวต้องจัดเก็บต่อเนื่องทุกปีจากการถือครองอสังหาริมทรัพย์ เก็บจากฐานภาษีที่กว้าง และเก็บจากที่ดินในอัตราที่สูงกว่าสิ่งปลูกสร้างเพราะเป็นการแก้ปัญหาผลตอบแทนส่วนเกินหรือที่เรียกว่าค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Economic Rent) ที่ตรงจุดมากที่สุด ความพยายามปฏิรูประบบภาษีที่ดินฯ โดยการควบรวมภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่มีมาตั้งแต่ปี 2537 ในยุครัฐบาลนายชวน หลีกภัย แนวคิดดังกล่าวได้ผ่านการปรับเปลี่ยนจากรัฐบาลหลายยุคหลายสมัย จนกระทั่งในปี 2563 จึงได้มีการเริ่มเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นครั้งแรกตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ในการเสวนาใต้ชายคาประชากรครั้งนี้ ผู้บรรยายจะขอนำเสนอผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมไปถึงบทบาทของภาษีฯ ในการบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านทรัพย์สินผ่านแว่นของเศรษฐศาสตร์การคลังและนคราศึกษา
Facebook Link: https://fb.watch/3DgInP0yLy/
ศุทธิดา ชวนวัน
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
สุชาดา ทวีสิทธิ์
อมรา สุนทรธาดา
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
สิรินทร์ยา พูลเกิด
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
กัญญา อภิพรชัยสกุล
สักกรินทร์ นิยมศิลป์
วรชัย ทองไทย
ณปภัช สัจนวกุล
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
มนสิการ กาญจนะจิตรา
อมรา สุนทรธาดา
มนสิการ กาญจนะจิตรา
นงเยาว์ บุญเจริญ
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
กัญญาพัชร สุทธิเกษม