หูเป็นอวัยวะที่ใช้รับเสียงของมนุษย์และสัตว์ หูมีสองข้างตั้งอยู่ตรงข้ามกันบนศีรษะ ทำให้สามารถได้ยินเสียงที่เกิดขึ้นรอบตัวชัดเจนขึ้น และง่ายต่อการบอกทิศทางที่มาของเสียง สัตว์บางชนิด เช่น แมงมุมใช้เส้นขนบนขาสำหรับรับเสียง ตั๊กแตนมีที่รับเสียงตรงหัวเข่า
มนุษย์เราโดยทั่วไป จะได้ยินเสียงที่มีความถี่ระหว่าง 20-20,000 เฮิรตซ์ (hertz) ในขณะที่สุนัขสามารถได้ยินเสียงที่มีความถี่ระหว่าง 15–50,000 เฮิรตซ์ และแมวได้ยินเสียงที่มีความถี่ระหว่าง 60–65,000 เฮิรตซ์
ระดับความดังของเสียงมีหน่วยวัดเป็นเดซิเบล (decibel: db) คนปกติสามารถรับเสียงที่มีความดังของเสียงต่ำ.สุดที่ 0 เดซิเบลและสูงสุดที่ 120 เดซิเบล ระดับเสียงที่ปลอดภัยสำหรับมนุษย์อยู่ที่ระดับความดัง 75 เดซิเบลหรือน้อยกว่า องค์การอนามัยโลกได้กำหนดระดับเสียงที่ปลอดภัยคือ ไม่เกิน 85 เดซิเบล ถ้าได้ยินทั้งวัน (8 ชั่วโมง)
ตัวอย่างความดังของเสียงตามแหล่งที่เกิดเสียง ได้แก่
หูของมนุษย์แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ หูส่วนนอก หูส่วนกลาง และหูส่วนใน โดยหูส่วนนอกประกอบด้วยใบหู ช่องหู และแก้วหู ทำหน้าที่รับคลื่นเสียงและส่งต่อไปยังหูส่วนกลาง
ที่มา: https://www.gazeta.ru/health/2013/07/10_a_5421617.shtml
หูส่วนกลางประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้นคือ กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน เรียงตามลำดับจากด้านนอกสู่ด้านใน ทำหน้าที่ขยายเสียงให้ดังมากขึ้น ในหูส่วนกลางยังมีท่อเชื่อมต่อกับคอหอย เพื่อทำหน้าที่ปรับความดันภายในหูให้เท่ากับบรรยากาศภายนอก เพราะหากความดันไม่เท่ากันแล้ว จะทำให้หูอื้อหรือปวดหู
หูส่วนในประกอบด้วยอวัยวะรับฟังเสียงรูปก้นหอยที่รับเสียงต่อมาจากหูส่วนกลาง และส่งผ่านไปยังเส้นประสาทเสียง เพื่อไปแปลผลที่สมอง นอกจากนี้ยังมีระบบควบคุมการทรงตัว ซึ่งประกอบด้วยของเหลวที่บรรจุอยู่ท่อรูปครึ่งวงกลม 3 ท่อ
หูของคนเป็นอวัยวะที่ทำความสะอาดตัวเองได้โดยอัตโนมัติโดยภายในช่องหูจะมีเส้นขนขนาดเล็กและต่อมผลิตขี้หู ขี้หูจะทำหน้าที่ดักฝุ่นละอองและสิ่งแปลกปลอม จากนั้นเส้นขนในช่องหูก็จะทำหน้าที่ปัดขี้หูออกช่องหู นอกจากนี้ ขี้หูยังทำหน้าที่ลดความดังของเสียงให้เบาลงด้วย
ในสมัยโบราณ คนจีนเชื่อว่า หูยาวแสดงถึงการมีอายุยืน และหูอวบแสดงถึงความมั่งคั่ง ส่วนกะลาสีเรือเชื่อว่า การเจาะหูข้างหนึ่งจะช่วยทำให้สายตาดีขึ้น
หูเป็นหนึ่งในอายตนะภายใน 6 (เครื่องรู้ของมนุษย์ในการรับรู้โลกภายนอก) อันประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ซึ่งจะเชื่อมต่อกับสิ่งรู้คือ อายตนะภายนอก 6 ได้แก่ รูป เสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ โดยที่ตาเป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งรู้ หูเป็นเครื่องรู้ เสียงเป็นสิ่งรู้ เป็นต้น อายตนะภายใน 6 มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อินทรีย์ 6
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “การศึกษาเริ่มต้นเมื่อคนกินอยู่เป็น” สรุปความว่า การพัฒนาประเทศที่ถูกต้องนั้น ต้องมีจุดหมายที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตคือ กินเป็นอยู่เป็น ไม่ใช่มีจุดหมายเพื่อเพิ่มการบริโภคคือ เพิ่มรายได้แต่ใช้จ่ายไม่เป็น โดยแนวทางที่ประชาชนควรปฏิบัติคือ อปัณณกปฏิปทา 3 (ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด) ประกอบด้วยอินทรีย์สังวร (การสำรวมอินทรีย์) โภชเนมัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณในการบริโภค หรือบริโภคด้วยปัญญา) และชาคริยานุโยค (การหมั่นประกอบการตื่น หรือทํากิจหน้าที่ด้วยสติ)
อินทรีย์สังวรคือ การมีสติ ระวังไม่ให้กิเลสคือความยินดียินร้าย เข้าครอบงำ.จิตใจ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง 6 นั่นคือการรู้จักใช้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจให้เป็น อาทิ ดูเป็น ฟังเป็น
การฟังเป็นคือ การฟังอย่างมีสติ ฟังแล้วก็คิดพิจารณาด้วยปัญญา เพื่อให้ได้ความรู้ ให้ได้แต่กุศล โดยไม่ให้เกิดโลภะ โทษะ โมหะ ซึ่งก็คือ รับรู้ด้วยสติ มิให้อกุศลเข้ามาครอบงำจิตใจ
ส่วนการฟังไม่เป็นคือ การฟังด้วยโมหะ ด้วยความรู้สึก ทำ.ให้เกิดความลุ่มหลง มัวเมา เพลิดเพลิน และเพิ่มพูนกิเลส ซึ่งจะส่งผลให้เสียสุขภาพ เสียงาน เสียการศึกษาเล่าเรียน
รางวัลอีกโนเบล ปีล่าสุด (พ.ศ. 2560) สาขากายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) มอบให้กับนักวิจัยจาก สหราชอาณาจักร (James Heathcote) สำหรับการศึกษาวิจัยทางการแพทย์เรื่อง “ทำไมชายแก่ถึงมีใบหูใหญ่”
รางวัลอีกโนเบล: รางวัลที่ทำให้ขำก่อนคิด
ปราโมทย์ ประสาทกุล
นงเยาว์ บุญเจริญ
วรชัย ทองไทย
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
มนสิการ กาญจนะจิตรา
วรชัย ทองไทย
อมรา สุนทรธาดา
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
วรชัย ทองไทย
ณัฐณิชา ลอยฟ้า
วรชัย ทองไทย
นนทวัชร์ แสงลออ
บุรเทพ โชคธนานุกูล
ณปภัช สัจนวกุล
สักกรินทร์ นิยมศิลป์
ธีรนันท์ ธีรเสนี
สลาลี สมบัติมี
ดวงวิไล ไทยแท้
ประทีป นัยนา
มนสิการ กาญจนะจิตรา
วรชัย ทองไทย