The Prachakorn

รัฐบาลเมียนมากับประเด็นแรงงานย้ายถิ่นระหว่างประเทศในยุคเปลี่ยนผ่านทางการเมือง (2011-2020)


ศิรดา เขมานิฏฐาไท

03 มีนาคม 2564
824



คุณศิรดา เขมานิฏฐาไท
นักศึกษาปริญญาเอก SOAS, University of London

เมื่อเมียนมาเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านทางการเมืองภายใต้การปกครองของรัฐบาลระบอบผสม (hybrid regime)อย่างรัฐบาลเต็งเส่ง และ รัฐบาลอองซานซูจี กรอบนโยบายของรัฐบาลเมียนมาต่อประเด็นแรงงานย้ายถิ่นระหว่างประเทศมีความเปลี่ยนแปลงไปสู่บรรทัดฐานของประเทศผู้ส่งแรงงาน (migrant-sending state) มากขึ้น และมีกรอบนโยบายที่ชัดเจนกว่าในยุคของระบอบเผด็จการทหาร มีการสมาทานบรรทัดฐานระหว่างประเทศบางประการ โดยเฉพาะการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ ทั้งนี้ กรอบนโยบายอยู่บนพื้นฐานของสองปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) นโยบายต่างประเทศที่เปิดสู่ชุมชนระหว่างประเทศมากขึ้น ทำให้เกิดความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ 2) ความสัมพันธ์ที่ปราศจากข้อขัดแย้งกับประเทศผู้รับแรงงานหลักที่สำคัญที่สุด คือประเทศไทย อย่างไรก็ดีพัฒนาการของกรอบนโยบายเรื่องแรงงานย้ายถิ่นก็ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น และยังคงมีปัญหาในเชิงปฏิบัติ รวมถึงรัฐบาลเมียนมาไม่ได้มีเจตนาที่จะพึ่งพาการพัฒนาทางเศรษฐกิจผ่านการส่งออกแรงงานเป็นหลักแบบประเทศผู้ส่งออกแรงงานบางประเทศแต่อย่างใด สุดท้าย เมื่อประเทศเมียนมาเกิดสถานการณ์รัฐประหารเช่นนี้ จะส่งผลอย่างไรต่อแรงงานย้ายถิ่นระหว่างประเทศ

Facebook Link: https://fb.watch/4yX4M9rjfz/



CONTRIBUTOR

Related Posts
โลกเราเปลี่ยนไปตามวัย

ปราโมทย์ ประสาทกุล

คุยกับ ChatGPT เรื่องนโยบายประชากร

อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์

คนไร้บ้าน

อมรา สุนทรธาดา

พลเมืองไอซ์แลนด์

อมรา สุนทรธาดา

สถานการณ์โลกปี 2566

อมรา สุนทรธาดา

รัฐประหาร ในเมียนมา

อมรา สุนทรธาดา

เมีย 2018 ณ เมียนมา

จรัมพร โห้ลำยอง

COVID-19 กับผลกระทบต่อผู้ย้ายถิ่น

สักกรินทร์ นิยมศิลป์

ปาฐกถา

วรชัย ทองไทย

ลักษณนาม

วรชัย ทองไทย

การเดินทางของชุดครุย

ณัฐนี อมรประดับกุล,ณปภัช สัจนวกุล

มองประชากรศึกษาผ่านกรอบเควียร์

ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th