The Prachakorn

ความแตกต่างทางประชากรและภูมิประเทศต่อความไม่มั่นคงทางอาหารของคนไทย ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19


สิรินทร์ยา พูลเกิด

30 พฤษภาคม 2566
459



บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการโครงการติดตามพฤติกรรมการกินผักและผลไม้ของคนไทย ดำเนินการโดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม สนับสนุนทุนวิจัยโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เก็บข้อมูลต่อเนื่องในปี 2561 2562 และ 2563 บทความมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขนาดปัญหาของความไม่มั่นคงทางอาหารของคนไทยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ปี 2563

บทความนี้ใช้ข้อมูลประชากรไทยอายุตั้งแต่ 15 ปี ของโครงการฯ ปี 2563 มาวิเคราะห์ รวม 5,066 คน โดยเน้นวิเคราะห์ความชุกของคนไทยที่มีความไม่มั่นคงทางอาหาร และปัจจัยทางประชากร ภาระหนี้สิน และบทบาทที่เป็นผู้จัดหาอาหารให้คนในครอบครัว จากผลการวิเคราะห์พบ คนไทยเกือบ 1 ใน 3 ของคนไทย (ร้อยละ 28.6) มีความไม่มั่นคงทางอาหาร โดยกลุ่มที่มีแนวโน้มมีความไม่มั่นคงทางอาหารมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มที่มีอายุ 15-29 ปี อาศัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุด นอกจากนี้ คนไทยที่รายงานว่ามีหนี้สินส่วนตัวอยู่ และทำหน้าที่จัดหาอาหารให้คนในครอบครัวเป็นหลัก มีโอกาสมีความไม่มั่นคงทางอาหารมากกว่ากลุ่มอื่นถึง 1.4 และ 2.3 เท่า ตามลำดับ

บทความนี้ได้เสนอแนะให้ ภาครัฐเพิ่มความใส่ใจในการออกนโยบายและมาตรการที่เพิ่มความมั่นคงทางอาหารของคนไทยให้มากขึ้น โดยการดำเนินการต้องกระจายครอบคลุมกลุ่มประชากรและพื้นที่ที่ยังพบปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารอยู่ นอกจากนี้ ภาครัฐควรเพิ่มการลงทุนพัฒนาหรือสร้างความเข้มแข็งให้กับแผนการส่งเสริมรายได้ในระดับครัวเรือน รวมถึงการช่วยลดภาระหนี้สินระดับบุคคลและครัวเรือน เพื่อเอื้อให้คนไทยกลุ่มเปราะบางสามารถเข้าถึงอาหารที่ดีมีประโยชน์ได้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน


ที่มา:

Phulkerd S, Thongcharoenchupong N, Chamratrithirong A, Gray RS, Pattaravanich U, Ungchusak C, Saonuam P. Socio-demographic and geographic disparities of population-level food insecurity during the COVID-19 pandemic in Thailand. Frontiers in Public Health 2023, 10:1071814.

 

 



CONTRIBUTOR

Related Posts
ติดรถ – รถติด ปลอดรถ – ลดพิษ

นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์

สถานการณ์โลกปี 2566

อมรา สุนทรธาดา

สู้ต่อไป กับการ Work From Home

มนสิการ กาญจนะจิตรา

วันหยุดที่แท้จริง

ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ

ด้วยรักและโรคระบาด

ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ

การเดินทางของชุดครุย

ณัฐนี อมรประดับกุล,ณปภัช สัจนวกุล

Work From Home (WFH)

ดนุสรณ์ โพธารินทร์

มารู้จักวัคซีนโควิด 19

มนสิการ กาญจนะจิตรา

ทุนสังคม พลังสังคม

ภูเบศร์ สมุทรจักร

Long COVID เจอ เจ็บ แต่ไม่จบ ?

สุริยาพร จันทร์เจริญ

ผู้หญิงในสถานการณ์โควิด-19

กัญญาพัชร สุทธิเกษม

คนจนในสหรัฐอเมริกา

อมรา สุนทรธาดา

โรคอ้วน

วรชัย ทองไทย

สัจธรรมแห่งชีวิต

ปราโมทย์ ประสาทกุล

คูถและมูตร

วรชัย ทองไทย

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th