The Prachakorn

อัตราเกิดน้อย: ผลกระทบทางประชากรอันเนื่องจากโควิด-19


จงจิตต์ ฤทธิรงค์

25 ตุลาคม 2564
748



ประชากรไทยเผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปลายปี 2562 พวกเราปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่เพื่อให้มีชีวิตรอดจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เช่น การทำงานที่บ้านจนหมดไฟ (burnout) กันไปหลายรอบ นักศึกษามหาวิทยาลัยเรียนแต่ออนไลน์ จึงขาดโอกาสในการพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศจนกลายเป็นคู่รัก ผู้คนโหยหาเศรษฐกิจที่ขับคลื่อนชีวิตให้ไปต่อได้ และดูเหมือนว่าสถานการณ์จะยังไม่กลับไปเหมือนเดิมในเร็ววันนี้เป็นแน่

ปรับจาก https://www.freepik.com/photos/woman’>Woman photo created by tirachardz-www.freepik.com

ผลกระทบจากโควิด-19 ที่กระทบต่อการเกิด การตายและการย้ายถิ่นจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางประชากร ไม่ต่างไปจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ อย่างสงคราม และโรคระบาดในอดีต บทความนี้ขอเสนอผลกระทบต่อการเกิดของประชากร

การสำรวจเกี่ยวกับความตั้งใจในการมีบุตรของสหรัฐอเมริกาพบว่า มากกว่า 1 ใน 3 ของผู้หญิงอายุ 18-49 ปีจะเลื่อนการมีบุตรออกไป หรือจะมีบุตรจำนวนลดลง ด้วยเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 อัตราเกิดในหลายรัฐลดลงราว 5-10% แคลิฟอร์เนียมีอัตราเกิดลดลง 7% ระหว่างปี 2019-2020 อัตราเกิดในสเปนระหว่างปี 2020-2021 ลดลง 23% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า1

ปี 2563 ประเทศไทยมีจำนวนเด็กเกิดเพียงไม่ถึง 6 แสนคน ซึ่งเป็นจำนวนต่ำที่สุดในรอบเกือบ 7 ทศวรรษ น่าเสียดายที่ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ยืนยันว่าอัตราเจริญพันธุ์รวมจะลดลงเหลือเท่าไร หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่คิดว่าจะได้รับผลกระทบไม่น้อยไปกว่าประเทศอื่นๆ เช่นกัน

โสดมีตติ้งที่ภาครัฐวางแผนจะจัดให้คนโสดมาพบกัน เป็นอันต้องหยุดชะงักไปเพราะประชาชนต้องรักษาระยะห่างและใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มอัตราเกิดหากภารกิจของศบค. สิ้นสุดลงแล้ว รัฐบาลอาจต้องตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจชุดใหม่ “ศูนย์บริหารความสัมพันธ์หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” เพื่อเพิ่มจำนวนคู่แต่งงานใหม่ และอัตราเกิดของประเทศไทยอย่างเร่งด่วน เพื่อชดเชยจำนวนเด็กที่ยังไม่ได้เกิดอันเนื่องมาจากโควิด-19
 


อ้างอิง

  1. Lindberg LD, VandeVusse A, Mueller J, Kirstein M. Early Impacts of the COVID-19 Pandemic: Findings from the 2020 Guttmacher Survey of Reproductive Health Experiences. New York: Guttmacher Institute; 2020. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2564

 



CONTRIBUTOR

Related Posts
เงิน….. งาน…… บันดาลสุขอย่างไร? ในวันที่ต้อง Work From Home

จรัมพร โห้ลำยอง,ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต

อนาคตเด็กไทยหน้าติดจอ

นฤมล เหมะธุลิน,อภิชาติ แสงสว่าง

วิถีใหม่

วรชัย ทองไทย

โกหกคำโต (big lie)

วรชัย ทองไทย

ด้วยรักและโรคระบาด

ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ

เลี้ยงลูกในยุคโรคระบาด

มนสิการ กาญจนะจิตรา

Work From Home (WFH)

ดนุสรณ์ โพธารินทร์

โควิด-19 กับ มูลค่าชีวิตคน

เฉลิมพล แจ่มจันทร์

มองประชากรศึกษาผ่านกรอบเควียร์

ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง

หาว

วรชัย ทองไทย

พิธีและพิธีกรรม

วรชัย ทองไทย

ประชากรศาสตร์ของโควิด-19

ปราโมทย์ ประสาทกุล

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th