ปฏิเสธไม่ได้ว่า กำลังเป็นกระแสอย่างถล่มทลาย ที่ ณ จุดนี้ไม่มีใครไม่พูดถึงกับแอปพลิเคชัน ที่มีชื่อว่า “Clubhouse”
หลังจากที่ อีลอน มัสก์ (Elon Musk) เข้าร่วมการสนทนากับ วแลด เทเนฟ (Vlad Tenev) ผู้ก่อตั้ง Robinhood แอปเทรดหุ้นชื่อดัง ได้พูดถึงประเด็นดราม่าเรื่องหุ้นอย่างเผ็ดร้อน ก็ทำให้แพลตฟอร์มห้องสนทนาออนไลน์นี้ได้รับความสนใจอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้น เหล่าคนดังในประเทศไทยก็เริ่มหยิบยกแพลตฟอร์มนี้มาใช้เปิดเรื่องพูดคุยกับเหล่าผู้ติดตามมากขึ้น
Clubhouse เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียน้องใหม่ ที่เปิดตัวในปี 2020 โดยนักพัฒนาซอฟต์แวร์จาก Alpha Exploration Co. โดยจะเน้นไปที่การใช้งาน ด้วยการพูดคุยผ่านเสียงเป็นหลัก หรือจะอธิบายง่าย ๆ ว่า เป็นการประชุมสายออนไลน์นั่นเอง เพราะมีแต่เสียง ไม่มีภาพหรือข้อความ และเป็นเสียงที่มาจากการพูดคุยกันสด ๆ ไม่อนุญาตให้บันทึก เสียงเพื่อฟังย้อนหลัง เป็นเหมือนศูนย์รวมของห้องพูดคุย ที่มีหัวข้อที่หลากหลายจากทั่วโลก
ซึ่งภายในแต่ละห้องของ Clubhouse สถานะของผู้ใช้งานจะมีด้วยกันอยู่ 3 แบบ ได้แก่
โดยในแต่ละห้อง ทาง Moderator จะกำหนดกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ เอาไว้อย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไร อะไรบ้างที่ห้ามทำ ฯลฯ
ความพิเศษของ Clubhouse คือ เราสามารถสร้างห้องแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อที่เราสนใจได้ หรือในขณะเดียวกัน เราก็สามารถเข้าฟังในห้องต่าง ๆ ที่เราสนใจได้เหมือนกัน เปรียบเสมือนการสลับบทบาทหน้าที่ จากผู้พูดไปเป็นผู้ฟัง และผู้ฟังกลายเป็นผู้พูด ที่ต้องพร้อมรับกับการถามคำถามจากบุคคลที่ร่วมฟังในห้องนั้น ๆ โดยที่ท่านไม่ได้ตั้งตัวว่า คำถามนั้นจะเป็นอย่างไร และถามโดยใคร สิ่งนี้ถือว่า เป็นเสน่ห์ของ Clubhouse เลยก็ว่าได้
เมื่อพูดถึงช่องทางการเรียนรู้ต่าง ๆ ของคนในแต่ละช่วงวัย เรามักนึกถึง YouTube, Facebook, Podcast, Ted Talk และช่องทางอื่น ๆ ซึ่งเป็นช่องทางที่ง่ายต่อการเข้าถึง ซึ่งตัวแอปพลิเคชั่น “Clubhouse” ได้ถูกใช้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยน เรียนรู้ และถกเถียงในหัวข้อต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง การศึกษา การลงทุน การตลาด การพัฒนาทักษะชีวิตต่าง ๆ ทั้ง Hard Skill & Soft Skill หรือแม้กระทั่งเรื่องจิปาถะทั่วไป ที่คนทำงานอย่างเราพลาดไม่ได้...
ซึ่งคนวัยทำงานก็เป็นอีกหนึ่งในเจเนอเรชันที่ถูกคาดหวังให้เป็นช่วงวัยที่ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อการพัฒนาตัวเองทั้ง Hard Skill & Soft Skill บางคนอาจจะเริ่มตั้งแต่ทักษะทางภาษา ทักษะด้าน IT หรือแม้แต่ทักษะการพูดคุยกับลูกค้าอย่างมีศิลปะ วันนี้จะชวนทุกท่านมองย้อนไปดูข้อมูลการใฝ่หาความรู้ของคนทำงานไทยไปพร้อม ๆ กัน
จาก ‘การสำรวจการอ่านของคนไทย’ ของ ‘สำนักงานอุทยานการเรียนรู้’ (TK park) กับ ‘สำนักงานสถิติแห่งชาติ’ ได้ชี้ให้เห็นว่า คนไทยใช้เวลาอ่านเพิ่มมากขึ้นเฉลี่ย 80 นาทีต่อวัน หรือคิดเป็นจำนวนประชากร 49.7 ล้านคน เมื่อเทียบกับการสำรวจในปี 2558 ที่มีการอ่านอยู่ 66 นาทีต่อวัน และปี 2556 อ่าน 37 นาทีต่อวัน เมื่อจำแนกตามช่วงวัย พบว่า วัยรุ่นอายุ 15-24 ปี เป็นกลุ่มที่มีอัตราการอ่านนานสุดอยู่ที่ 109 นาทีต่อวัน , เด็กอายุระหว่าง 6-14 ปี มีแนวโน้มการอ่านเพิ่มขึ้น นั่นหมายถึงว่าการรณรงค์ส่งเสริมการอ่านในกลุ่มนี้ค่อนข้างได้ผล
ขณะที่วัยผู้ใหญ่ 25-50 ปี (วัยทำงาน) เวลาที่ใช้ในการอ่านมีเพียง 77 นาทีต่อวัน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากถึง 75.6% และสื่อสังคมออนไลน์ 74.4% ซึ่งมากเป็นอันดับ 1 ของทุกช่วงวัย
นอกจากนี้ ยังมีการสำรวจความสุขของคนทำงานไทย โดยโครงการ การพัฒนาสร้างเสริมความสุขคนทำงานเพื่อความยั่งยืน โดยดำเนินงานในรูปแบบ “ศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย” สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีตัวชี้อวัดเรื่อง ‘การใฝ่รู้ดี’ (Happy Brain) ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดความสุขที่สำคัญ โดยมีประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับความสนใจในการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ การสนใจที่จะพัฒนาตนเอง เพื่อความก้าวหน้าในชีวิต และการได้มีโอกาสที่จะได้รับการอบรม/ ศึกษาต่อ/ ดูงาน เพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถของตนเอง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยผลักดันให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
จากผลการสำรวจความสุขคนทำงาน (ในองค์กร) ปี 2560 – 2562 พบว่า มิติใฝ่รู้ดี (Happy Brain) มีค่าคะแนนเฉลี่ยความสุข ดังนี้
รูปภาพ 1: กราฟแสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุข “มิติใฝ่รู้ดี” จำแนกตามปี 2560-2562
ในปี 2560 2561 และ 2562 คนทำงานมีค่าคะแนนความสุขเฉลี่ยในมิติใฝ่รู้ดี เท่ากับ 58.5 และ 61.1 คะแนนตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับ “HAPPY” หรือ “ระดับความสุขตามเป้าหมาย” (คะแนน 50-74.99 คะแนน) แต่ในปี 2561 พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยตกลงมาเหลืออยู่เพียง 49.5 คะแนน ถือว่า อยู่ในระดับ “UNHAPPY” หรือ “ไม่มีความสุข” (คะแนน 25-49.99 คะแนน)
และเมื่อพิจารณาแยกตามรุ่นประชากรหรือที่เรียกกันติดปากว่า เจเนอเรชัน (Generation) เราพบความน่าสนใจที่ว่า “การใฝ่รู้” ของละช่วงวัยไม่มีความแตกต่างกันมากนัก
รูปภาพ 2: กราฟแสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุข “มิติใฝ่รู้ดี” จำแนกตามรุ่นประชากร (Generation)
เป็นที่แน่นอนว่า กลุ่มคน GEN Y มีการเข้าถึงข้อมูล เพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ในการพัฒนาตนเองได้ดีกว่ากลุ่มอื่น ๆ ตามมาด้วยคน GEN X และ BABY BOOM ตามลำดับ
ซึ่ง Clubhouse ถือว่า ตอบโจทย์การเรียนรู้ของคนทำงานได้โดยตรง เพราะผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าใช้แอปฯ นี้มาสักระยะหนึ่งและคิดว่า มีสิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจหลายเรื่อง อาทิ เมื่อเราสนใจที่จะเข้าฟังเรื่องที่เกี่ยวกับ Work-Life Balance ก็สามารถกดเข้าไปฟังเทคนิคต่าง ๆ จากกูรูที่เป็น Speaker รวมถึงประสบการณ์จากผู้ที่ประสบพบเจอปัญหาเดียวกับเราที่ไม่สามารถจัดการชีวิตกับงานให้เกิดความสุขในการทำงานได้ และที่ว้าวไปกว่านั้นคือ เราสามารถยกมือ (กดยกมือ ) เพื่อถาม Speaker ได้เลยว่า เราควรทำอย่างไร มีข้อเสนอแนะที่เหมาะสมกับบริบทของเราหรือไม่ หรือแม้แต่เรื่องปกิณกะ เช่น การฟังเทศน์ ฟังธรรมในตอนเช้า ที่เราสามารถถาม – ตอบปัญหาธรรม กับพระอาจารย์ได้โดยที่เราไม่ต้องไปวัด เพราะวัดอยู่กับเราที่ Clubhouse เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จะเห็นได้ว่า Clubhouse ไม่ใช่แอปฯ เพื่อการเรียนรู้เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเหมือนที่ผ่อนคลายและเป็นเพื่อนไปในเวลาเดียวกัน ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า เมื่อได้อ่านบทความนี้แล้ว จะได้พบกับทุกท่านใน Clubhouse
เพราะเมื่อโลกเปลี่ยน เราเปิด ไม่มีอะไรที่เราไม่สามารถเรียนรู้ได้ ทุกคนพร้อมที่จะเรียนรู้และก้าวทันโลก
หมายเหตุ 1. Clubhouse ยังเปิดให้ใช้บริการบนแพลทฟอร์มในระบบ iOS เท่านั้น
หมายเหตุ 2. ถึงแม้จะโหลดแอปฯ มาแล้ว แต่ก็ต้องถูกเชิญจากเพื่อนที่อยู่ใน Clubhouse ถึงจะสามารถเข้าแอปฯ ได้
สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: http://www.happinometer-tchs.com/web/
อ้างอิง
นันท์สินี ศิริโกสุม,ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
ปรียา พลอยระย้า
รีนา ต๊ะดี
พิมลพรรณ นิตย์นรา
ศุทธิดา ชวนวัน
รีนา ต๊ะดี
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
กาญจนา เทียนลาย
กาญจนา เทียนลาย
สาสินี เทพสุวรรณ์,สิรินทร์ยา พูลเกิด
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
จรัมพร โห้ลำยอง
วิภาพร จารุเรืองไพศาล
ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา
ปราโมทย์ ประสาทกุล
บุรเทพ โชคธนานุกูล
บุรเทพ โชคธนานุกูล
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
สุภิรัฐพงศ์ พงศ์ศักดิ์ศรี
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต
วรรณี หุตะแพทย์,ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล