ปัจจุบันองค์กรหลายแห่งให้ความสำคัญกับการใส่ชุดยูนิฟอร์มของพนักงาน เนื่องจากชุดยูนิฟอร์มแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ขององค์กร สามารถสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กร รวมทั้งช่วยทำให้คนทำงานมีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร นอกจากนี้การใส่ชุดยูนิฟอร์มยังช่วยประหยัดเงินให้คนทำงานได้มากเพราะไม่ต้องเสียเงินซื้อเสื้อผ้าชุดทำงานที่หลากหลายตามแฟชั่น ดังนั้นหลายองค์กรจึงมีนโยบายสนับสนุนชุดยูนิฟอร์มให้กับคนทำงาน โดยจัดเป็นสวัสดิการรูปแบบหนึ่ง
“ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” เป็นสุภาษิตหนึ่งที่คุ้นหู “เสื้อผ้า” จึงมีความสำคัญเพราะสามารถช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพและความมั่นใจให้กับผู้ใส่ การสวมใส่เสื้อผ้าจึงมีผลต่อ“อารมณ์” และ ”จิตใจ” ของผู้ใส่ หากคนทำงานต้องใส่ชุดยูนิฟอร์มที่ไม่สวยงามหรือเหมาะสมกับตัวเอง ก็คงจะทำงานด้วยความหงุดหงิด ไม่สบายใจ ไม่มีความสุข ฯลฯ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
การใส่ชุดยูนิฟอร์มที่สวยงาม เหมาะสม มีความโดดเด่น บ่งบอกความเป็นตัวตน มีเอกลักษณ์ รวมทั้งการมีรูปแบบการสวมใส่ที่มีความหลากหลาย ไม่เป็น One fit for all จึงเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นแนวทางการสร้างสุขภายในองค์กร ภายใต้ “แผนปฏิบัติการสร้างสุขในองค์กร” ที่มีชื่อที่เก๋ไก๋ว่า “ออกแบบ แต่ไม่แอบบอก (Your Design Your Style)” ของกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ดูภาพ 1) ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 เป็นประชากรในรุ่น Gen Z ที่ใกล้สำเร็จการศึกษา และกำลังจะก้าวเข้าสู่โหมดของการทำงาน
แผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว เป็นหนึ่งในแผนปฏิบัติการฯ ที่เกิดจากโครงการ องค์กร 4G มีสุข: เข้าใจ เตรียมพร้อม และทลายช่องว่าง มีภาพกิจกรรมคือการเปิดโอกาสให้คนทำงานทุกฝ่าย ทุก Generation มีส่วนร่วมในการออกแบบชุดยูนิฟอร์มขององค์กรผ่านเวทีการประกวด โดยมีแรงจูงใจเป็นเงินรางวัล และจุดมุ่งหมายคือนำแบบที่ได้รับการคัดเลือกไปใช้เป็นชุดยูนิฟอร์มจริงขององค์กร
แม้ว่ากิจกรรมนี้เกิดขึ้นจากแนวคิดของนักศึกษาที่อยู่ใน Gen Z แต่กิจกรรมนี้ก็ถือว่าสามารถตอบโจทย์ความต้องการของคนทำงานได้ในทุก Generation เนื่องจากสอดคล้องกับผลการสำรวจข้อมูลคนทำงาน 4 รุ่นประชากร คือ Baby Boomer, Generation X, Y และ Z จำนวน 433 คน ในช่วงเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน 2564 ของโครงการ องค์กร 4G มีสุข: เข้าใจ เตรียมพร้อม และทลายช่องว่าง ในประเด็นด้านมุมมองและความคาดหวังในการทำงาน ที่พบว่าคนทำงานทุกรุ่นให้ความสำคัญกับการคิดด้วยตนเองมากกว่าการปฏิบัติคำสั่ง (Pearson Chi-Square=15.186; P-value=0.23) โดยร้อยละ 89.9 ของ Gen Z ร้อยละ 90.7 ของ Gen Y ร้อยละ 88.7 ของ Gen X และร้อยละ 95.3 ของรุ่น Baby Boomer ให้ความสำคัญกับการคิดด้วยตนเองมากกว่าการปฏิบัติตามคำสั่งในระดับปานกลางถึงมากที่สุด (ดูภาพ 1) กล่าวได้ว่าคนส่วนใหญ่ในทุก Generation ต้องการที่จะคิด และเลือกสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง โดยเฉพาะในเรื่องของการแต่งกายแล้วนั้น คนทำงานควรจะมีสิทธิเต็มที่ในการร่วมออกแบบชุดยูนิฟอร์มด้วยตนเอง เพื่อให้การสวมใส่เสื้อผ้าช่วยเสริมสร้างความสุขในทุกวันของการทำงานได้เป็นอย่างดี
ภาพ 1: แผนปฏิบัติการสร้างสุขในองค์กรของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ภาพ 2: ร้อยละของผู้ที่ให้ความสำคัญกับการคิดด้วยตนเองมากกว่าการปฏิบัติตามคำสั่งในระดับปานกลางถึงมากที่สุด จำแนกตามรุ่นประชากร
ที่มา: แผนปฏิบัติการ “องค์กร 4G แห่งความสุข” โดย นางสาวธัญกัลย์ เลิศสัฒนนนท์, นายรฌากร ปุรณะศิริ นางสาวชนิสรา แสงสุข และนางสาวภัทราพร กระจายศรี จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลประเภทดีเลิศ จากโครงการ “องค์กร 4G มีสุข: เข้าใจเตรียมพร้อม และทลายช่องว่าง” ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการประกวดและมอบรางวัลแผนปฏิบัติการ “องค์กร 4G แห่งความสุข” วันที่ 18-19 และ 26 ธันวาคม 2564 จัดโดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
วรชัย ทองไทย
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
สุภาณี ปลื้มเจริญ
ปราโมทย์ ประสาทกุล
สุชาดา ทวีสิทธิ์
วรชัย ทองไทย
นงเยาว์ บุญเจริญ
พิมลพรรณ นิตย์นรา
สุชาดา ทวีสิทธิ์
อมรา สุนทรธาดา
มนสิการ กาญจนะจิตรา
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
ปรียา พลอยระย้า
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต,สุภรต์ จรัสสิทธิ์
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
กัญญา อภิพรชัยสกุล
จรัมพร โห้ลำยอง
ศุทธิดา ชวนวัน
สุภาณี ปลื้มเจริญ
กุลวีณ์ ศิริรัตน์มงคล
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
ชณุมา สัตยดิษฐ์
วิภาพร จารุเรืองไพศาล
ถิรวัฒน์ วรรณพฤกษ์
กุลวีณ์ ศิริรัตน์มงคล