The Prachakorn

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานที่ถูกเก็บภาษีในประเทศไทย


สิรินทร์ยา พูลเกิด

29 พฤษภาคม 2566
494



บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจติดตามพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานของคนไทย ภายหลังการออกมาตรการเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ดำเนินการโดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม สนับสนุนทุนวิจัยโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เก็บข้อมูลต่อเนื่องในปี 2561 2562 และ 2563 บทความมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานที่ถูกเก็บภาษีของคนไทย ภายหลังจากที่ภาครัฐออกมาตรการเก็บภาษีในเครื่องดื่มที่เติมปริมาณน้ำตาลเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดในปี 2560 เพื่อลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของคนไทย
    
บทความนี้ใช้ข้อมูลประชากรไทยอายุตั้งแต่ 15 ปี ของโครงการฯ ปี 2562 มาวิเคราะห์ รวม 4,736 คน โดยเน้นวิเคราะห์ปัจจัยทางประชากร พฤติกรรมสุขภาพ (กิจกรรมทางกาย การดื่มแอลกอฮอล์ สถานะสุขภาพปัจจุบัน และความรู้ด้านการกินน้ำตาล ซึ่งผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า กว่า 1 ใน 3 ของคนไทย ดื่มเครื่องดื่มแบบอัดแก๊ส (carbonated drinks, CD) ทุกวัน รองลงมา คือ เครื่องดื่มน้ำผลไม้ที่ไม่ใช่ 100% (non-100% fruit juice drinks, FD) และเครื่องดื่มให้พลังงาน (energy drinks, ED) ตามลำดับ กลุ่มที่มีแนวโน้มดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้สูง ได้แก่ เป็นผู้ชาย อาศัยในกรุงเทพหรือภาคกลาง มีการศึกษาน้อย มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ และสูบบุหรี่ อย่างไรก็ตาม การดื่มมีแนวโน้มลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มที่ดื่ม CD สัมพันธ์กับการขาดความรู้เรื่องปริมาณการกินน้ำตาลที่เหมาะสมในแต่ละวัน

บทความนี้ได้เสนอแนะให้ ภาครัฐมีการเพิ่มมาตรการควบคุมการดื่มเครื่องดื่ม CD FD และ ED ของคนไทย ควบคู่ไปกับการใช้มาตรการเก็บภาษี เช่น การควบคุมการตลาดอาหารเครื่องดื่ม และการติดฉลากโภชนาการที่ง่ายต่อการใช้ตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค โดยมาตรการต่างๆ ควรมีการปรับให้เหมาะสมตามลักษณะทางประชากรและพฤติกรรมสุภาพของคนไทยที่ดื่มเครื่องดื่มในแต่ละประเภทด้วย


ที่มา:

Phulkerd S, Thongcharoenchupong N, Chamratrithirong A, Pattaravanich U, Sacks G, Prasertsom P. Influence of sociodemographic and lifestyle factors on taxed sugar-sweetened beverage consumption in Thailand. Food Policy 2022, 109:102256.



CONTRIBUTOR

Related Posts
รางวัลล้อเลียน

วรชัย ทองไทย

โกหกคำโต (big lie)

วรชัย ทองไทย

เวลา

วรชัย ทองไทย

ส่องเทรนโลก เทรนไทย “ตลาดและคุณภาพอาหารแปรรูปสูง”

ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์,สิรินทร์ยา พูลเกิด

โรคอ้วน

วรชัย ทองไทย

ลักษณนาม

วรชัย ทองไทย

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th