The Prachakorn

COVID-19 โรคเปลี่ยนโลก


ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา

27 พฤษภาคม 2563
511



ศ.เกียรติคุณ ดร.ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา เสวนาใต้ชายคาประชากร

บทคัดย่อ

COVID-19 เป็นปัญหาใหญ่ของศตวรรษนี้ เป็นวิกฤตที่ทุกประเทศเผชิญเช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นประเทศร่ำรวย มีระบบสาธารณสุขที่ก้าวหน้า หรือประเทศยากจน ซึ่งแตกต่างจากโรคระบาดอื่น ๆ ที่ผ่านมา ที่มักจะเกิดกับประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศยากจนมากกว่า การรับมือกับการระบาดของโควิดจึงแตกต่างจากการรับมือกับโรคระบาดอื่น ๆ จะเห็นว่ามาตรการที่ประเทศต่าง ๆ ใช้นั้น เป็นการปกป้องคนในชาติก่อน ตั้งแต่นโยบายปิดประเทศ การจำกัดการส่งออกยาและเวชภัณฑ์ของ 83 ประเทศ (นับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม) ขณะเดียวกัน Covid-19 ทำให้เห็นระบบกลไกระดับโลกที่ไม่อาจจะรับมือกับวิกฤตครั้งนี้ได้ การรับมือกับ COVID-19 จึงสะท้อนแนวคิดของชาตินิยม มากกว่าการร่วมกันแก้ปัญหา ซึ่งเป็นหลักการของ Global Health การเสวนาวันนี้ จะพูดถึงประเด็นการขาดแคลนยาและเวชภัณฑ์ และมาตรการของประเทศต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงยาเช่นการประกาศทำ CL ของหลายประเทศและการจำกัดการส่งออก และจะพูดถึงการขับเคลื่อนเรื่อง Technology Intellectual Property Pool (TIPP) เพื่อให้ยาและเวชภัณฑ์รวมทั้งวัคซีนมีการผลิตได้มากยิ่งขึ้น ลดการผูกขาดโดยบริษัทยาลง


Facebook Link: https://www.facebook.com/IPSRMAHIDOLUNIVERSITY/videos/247506966482107/
 



CONTRIBUTOR

Related Posts
โกหกคำโต (big lie)

วรชัย ทองไทย

วิถีใหม่

วรชัย ทองไทย

เงิน….. งาน…… บันดาลสุขอย่างไร? ในวันที่ต้อง Work From Home

จรัมพร โห้ลำยอง,ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต

ประชากรศาสตร์ของโควิด-19

ปราโมทย์ ประสาทกุล

Show & Share ความสุขของ “เอก”

ปิยะวัฒน์ สวัสดิ์จู,สุภาณี ปลื้มเจริญ

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th