The Prachakorn

ระบบการจำแนกอาหารเพื่อส่งเสริมการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพของคนไทย


สิรินทร์ยา พูลเกิด

26 พฤษภาคม 2566
415



 

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการประเมินประสิทธิผลการใช้เกณฑ์จำแนกอาหารในรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพของคนไทย ปี 2564 ดำเนินการโดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม สนับสนุนทุนวิจัยโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ บทความมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีขายตามท้องตลาดในประเทศไทย โดยใช้ระบบการจำแนกอาหารจากหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ ระบบของ 1) กรมอนามัย 2) มูลนิธิส่งเสริมโภชนาการในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 3) WHO South-East Asia Region และ 4) food-processing-based food classification system หรือ NOVA ของมหาวิทยาลัยเซาเปาโล ประเทศบราซิล บทความทำการวิเคราะห์แต่ละระบบ เพื่อดูความความสามารถและความครอบคลุมของแต่ละระบบในการจำแนกกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพและไม่ดีต่อสุขภาพ โดยระบบที่ 1-3 ใช้เกณฑ์ปริมาณสารอาหารที่ใส่ในผลิตภัณฑ์ ขณะที่ระบบที่ 4 ใช้เกณฑ์กระบวนการแปรรูปที่ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์

บทความนี้ใช้ข้อมูลจากฐาน Mintel Global New Products ของปี 2564 โดยดึงข้อมูลผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจำนวน 17,414 รายการมาวิเคราะห์ ซึ่งผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่สามารถผ่านเกณฑ์ของระบบที่ 1-3 หรือกล่าวคือ เป็นอาหารดีต่อสุขภาพหรืออาหารที่มีการปรับสูตรให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้น พบเพียงร้อยละ 10-11 ของผลิตภัณฑ์ที่ศึกษา ขณะที่มีผลิตภัณฑ์เพียงร้อยละ 6 ที่ผ่านเกณฑ์ของระบบที่ 4

ภาพ ผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่างๆ
ที่มา www.freepik.com

บทความนี้ได้เสนอแนะให้ ภาครัฐเร่งออกมาตรการควบคุมปริมาณผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ดีต่อสุขภาพที่ขายในท้องตลาดให้มากขึ้น ร่วมกับการมีมาตรการส่งเสริมการผลิตและขายอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้มากขึ้น และการมีกลไกติดตามสถานการณ์คุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่องมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลใช้ประกอบการควบคุมและส่งเสริมผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ขายในท้องตลาด เพิ่มการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมสุขภาพคนไทย รวมถึงการพิจารณาใช้ระบบจำแนกอาหารที่มีประสิทธิภาพที่สามารถช่วยจำแนกอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพได้ครอบคลุมและถูกต้องอย่างแท้จริง


ที่มา:

Phulkerd S, Dickie S, Thongcharoenchupong N, Thapsuwan S, Machado P, Woods JL,  Mo-Suwan L, Prasertsom P, Ungchusak C, Khitdee C, Lawrence MA. Choosing an effective food classification system for promoting healthy diets in Thailand: A comparative evaluation of three nutrient profiling-based food classification systems (government, WHO and Healthier Choice Logo) and a food processing-based food classification system (NOVA). Frontiers in Nutrition 2023, 10:1149813



CONTRIBUTOR

Related Posts
คันและเกา

วรชัย ทองไทย

ขยะมือสองกับนักรณรงค์ Freegans

นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์

โรคอ้วน

วรชัย ทองไทย

ส่องเทรนโลก เทรนไทย “ตลาดและคุณภาพอาหารแปรรูปสูง”

ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์,สิรินทร์ยา พูลเกิด

ลักษณนาม

วรชัย ทองไทย

Show & Share ความสุขของ “เอก”

ปิยะวัฒน์ สวัสดิ์จู,สุภาณี ปลื้มเจริญ

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th