The Prachakorn

โควิด-19 ฉุดประชากรโลก ยากจนยาวถึงปี 2573


อมรา สุนทรธาดา

25 มกราคม 2564
678



เพียงช่วงเวลาหนึ่งปีเศษเท่านั้นนับแต่การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19  หลายประเทศทั่วโลกได้รับผลกระทบขั้นวิกฤต รายงานการวิเคราะห์ ดำเนินการโดย UNDP ร่วมมือกับ UN Women และ สถาบัน Pardee Center for International Futures มหาวิทยาลัยเด็นเวอร์ รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา คาดประมาณผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก ประมาณ 6 ล้านคนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง และอาจมีจำนวนมากกว่าที่คาดประมาณไว้ เนื่องจากแรงงานหญิงถูกเลิกจ้างงานมากกว่าแรงงานชายหรือชั่วโมงการจ้างงานน้อยลง ส่งผลต่อเด็กโดยตรงเพราะผู้หญิงทำหน้าที่หลักเพื่อดูแลบุตรและครอบครัว

UN Women  (2020) คาดประมาณจำนวนประชากรหญิงกลุ่มอายุ 25-34 ทั่วโลกมีประมาณ 50 ล้านคนที่มีรายได้ยังชีพประมาณ 60 บาท ต่อวัน เปรียบเทียบกับผู้ชายในกลุ่มอายุเดียวกันมี ประมาณ 40 ล้านคน ผู้หญิงได้รับผลกระทบมากกว่าเพราะแรงงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคการจ้างแรงงานนอกระบบ (informal sectors) เช่น รับจ้างทำงานบ้าน รับงานมาทำที่บ้านโดยมีค่าตอบแทนตามจำนวนงานที่ผลิตได้ ลักษณะงานไม่มีความมั่นคงในเรื่องระยะเวลาการจ้างงาน รวมทั้งการต่อรองค่าแรง ไม่มีสวัสดิการแรงงาน แรงงานลักษณะดังกล่าวได้รับผลกระทบรุนแรง เช่น ถูก เลิกจ้างงาน ลดชั่วโมงการทำงาน คาดประมาณว่าแรงงานหญิงทั่วโลกสำหรับการจ้างงานลักษณะนี้ ต้องขาดรายได้น้อยกว่าที่เคยหาได้ร้อยละ 60 ในช่วงแรกของการแพร่ระบาดโควิด 19  ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อครอบครัว เช่น กลุ่มประเทศตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า และกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ได้รับผลกระทบร้อยละ 81 ประเทศต่าง ๆในทวีปยุโรปและเอเชียกลางได้รับผลกระทบ ร้อยละ 70 สำหรับเอเชียและหมู่เกาะแปซิฟิกได้รับผลกระทบน้อยที่สุดคือร้อยละ 22

ภาพที่ 1 จำนวนประชากรโลกที่ฐานะยากจนต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจน ก่อนและหลังการระบาดโควิด 19 จำแนกตามเพศ

ที่มา:    G. Azcona, Bhatt. A, and Kapto.S.  2020.

ภาพที่ 2 อัตราส่วนประชากรหญิงยากจนเปรียบเทียบกับประชากรชาย 100 คน ในภูมิภาคเอเชียใต้

ที่มา: Azcona, G., Bhatt. A. and Kapto. S.  2020.

โดยเฉพาะประชากรหญิงวัยเจริญพันธุ์  มีอัตราส่วนประชากรหญิงยากจนเปรียบเทียบกับประชากรชาย 119 คน ต่อ 100 คน ในกลุ่มอายุ 25-34 ปี ในปี 2020 และคาดว่าจะเพิ่มเป็นหญิง 121 คน ต่อชาย 100 คน ในปี 2030 โดยเฉพาะประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้

ประชากรโลกเพศหญิงที่ยากจนที่สุดในโลกร้อยละ  58.9 อยู่ในกลุ่มประเทศตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า และคาดว่าจะเพิ่มเป็น ร้อยละ 71.1 ในปี 2030  เช่นเดียวกับอัตราเพิ่มในกลุ่มประทศเอเชียกลางและเอเชียใต้เนื่องจากการระบาดของโควิด 19 อัตราเพิ่มคาดว่าประมาณ ร้อยละ 10 ในปี 2021  คาดว่าอาจเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 13 ในปี 2021 และอาจเพิ่มสูงถึงร้อยละ 18.6 ในปี 2030

การลดช่องว่างความยากจนของประชากรหญิงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ยังมีความหวังอยู่บ้าง เช่น การเร่งนโยบายสร้างโอกาสด้านการศึกษา การบริการวางแผนครอบครัวที่เข้าถึงได้สะดวกและปลอดภัย ค่าแรงที่ยุติธรรม และมาตรการเพิ่มสวัสดิการอื่น ๆ ซึ่งต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 480,000 ล้าน ดอลล่าร์ เพื่อคุ้มครองประชากรหญิง 100 ล้านคน ทั่วโลกให้หลุดพ้นจากความยากจนในระดับหนึ่งและปลอดภัยจากการป่วยหรือเสียชีวิตด้วยโควิด 19 เช่นกัน

ความช่วยเหลือเพื่ออยู่รอด

องค์การสหประชาชาติ (UN, 2000) ประมวลผลภาพรวมประเทศต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด 19 ในหลายประเทศมีโครงการให้ความช่วยเหลือแบบเร่งด่วนสำหรับผู้ที่เป็นเหยื่อความรุนแรงในช่วงมาตรการ lockdown เช่น จีน มี online application # Antidomestic Violence โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  สเปนมีบริการ online chatroom เพื่อให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต   อาร์เจนตินาให้บริการรับเรื่องราวผ่านร้านขายยา เช่นเดียวกับฝรั่งเศสมีบริการรับเรื่องผ่านร้านสะดวกซื้อรวมทั้งสำรองที่พักในโรงแรม 20,000 ห้อง เพื่อการเข้าพักระยะสั้น สำหรับผู้หญิงที่เป็นเหยื่อความรุนแรงหรือการคุกคามทุกประเภท

ภาพประกอบจาก Ketut Subiyanto from Pexels


อ้างอิง:

  • Azcona, G., Bhatt, A. and Kapto, S. 2020. The COVID-19 boomerang effect: New forecasts predict sharp increases in female poverty. สืบค้นจาก https://data.unwomen.org/features/covid-19-boomerang-effect-new-forecasts-predict-sharp-increases-female-poverty  วันที่ 20 มกราคม 2564
  • UN Women 2020 SPOTLIGHT ON GENDER, COVID-19 AND THE SDGS WILL THE PANDEMIC DERAIL HARD-WON PROGRESS ON GENDER EQUALITY? สืบค้นจาก  https://www.unwomen.org/en/digital-library/ วันที่ 20 มกราคม 2564
  • United Nations 2020 Policy Brief: The Impact of COVID-19 on Women สืบค้นจากhttps://www.unwomen.org/en/digital-library/publications/2020/04/policy-brief-the-impact-of-covid-19-on-women  วันที่ 20 มกราคม 2564

 

 



CONTRIBUTOR

Related Posts
เมื่อโควิด-19 กำลังจะผ่านไป

ปราโมทย์ ประสาทกุล

โกหกคำโต (big lie)

วรชัย ทองไทย

หวังว่าโควิด-19 จะผ่านไป

ปราโมทย์ ประสาทกุล

Work From Home (WFH)

ดนุสรณ์ โพธารินทร์

เลี้ยงลูกในยุคโรคระบาด

มนสิการ กาญจนะจิตรา

ทำไมคุณพ่อต้องลาคลอด

มนสิการ กาญจนะจิตรา

คุณแม่อย่าท้อ

ขวัญชนก ใจซื่อกุล

พาพ่อกลับกรีนแลนด์

อมรา สุนทรธาดา

คนจนในสหรัฐอเมริกา

อมรา สุนทรธาดา

สังคมยุคดิจิทัล

เพ็ญพิมล คงมนต์

COVID-19 : รักษาระยะห่าง ดูแลระยะใจ 

พงษ์ศักดิ์ สกุลทักษิณ,ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์

การเดินทางไกลที่คุ้มค่า

ปราโมทย์ ประสาทกุล

60…ใช่ว่าต้องหยุด (ทำงาน)

เฉลิมพล แจ่มจันทร์

Work From Home คำ.ตอบ Work-Life Balance?

มนสิการ กาญจนะจิตรา

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th