ธุรกิจเพื่อสังคม เป็นหนึ่งแนวคิดการทำธุรกิจของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการสร้างธุรกิจประเภท start up และขณะเดียวกันก็เป็นธุรกิจที่ช่วยแก้ปัญหาและตอบโจทย์ทางสังคม
ธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise (SE) คือ ธุรกิจที่มีจุดหมายหลักในการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมพร้อมๆ กับการสร้างผลกำไร โดยนำกลไกการบริหารจัดการที่ดีของภาคธุรกิจปรับใช้เพื่อทำให้ธุรกิจนั้นสามารถดำเนินกิจการได้อย่างยั่งยืนและสร้างผลลัพธ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม
รูปแบบธุรกิจ SE อยู่ระหว่างการทำกิจการแบบหวังผลกำไรและแบบไม่หวังผลกำไร การทำธุรกิจทั่วไป จะมุ่งสร้างกำไรและให้ผลตอบแทนแก่หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น ซึ่งสามารถดำเนินกิจกรรมโดยมีจุดมุ่งหมายทางสังคมหรือการรับผิดชอบต่อสังคม (corporate social responsibility: CSR) เมื่อกิจการมีผลกำไร ส่วนกิจการไม่หวังผลกำไรนั้นจะมุ่งผลประโยชน์ต่อสังคม มักจะรู้จักในรูปแบบขององค์กรการกุศลและการบริจาค
ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE)
ภาพจาก: https://innovation.ox.ac.uk/wp-content/uploads/2018/11/Social-Enterprise-Brochure-v4s.pdf
อย่างไรก็ดีทั้งสองรูปแบบนี้ไม่มีความยั่งยืนในการดำเนินกิจการ หากกิจการขาดทุนก็ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ และการไม่ได้รับเงินบริจาคก็ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการคนและทรัพยากรได้ SE จึงมีความยั่งยืนมากกว่าเพราะมีจุดแข็งด้านการเงินและการตอบโจทย์สังคม
ในต่างประเทศโมเดลธุรกิจเพื่อสังคมมีมานานเพื่อแก้ปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ปัญหาระดับโลก เช่น ความยากจน ความอดอยากอาหารและน้ำ การได้รับการศึกษา สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ไปจนถึงปัญหาภายในท้องถิ่นสังคมนั้น ๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ส่วนในไทยธุรกิจเพื่อสังคมได้รับความนิยมโดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นใหม่ซึ่งมี passion ต้องการตอบโจทย์ปัญหาสังคม โดยผสมผสานโมเดลธุรกิจบริหารการเงินและสร้างผลตอบแทนสู่สังคม นอกจากนี้คนรุ่นใหม่ได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลสร้างธุรกิจรูปแบบสตาร์ทอัพ (Start up) เช่น Local Alike ธุรกิจการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน Locall บริการส่งอาหารคาวและหวานจากร้านในชุมชนสู่มือผู้บริโภคในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 และ ยังแฮปปี้ (YoungHappy) สร้างชุมชนทั้งออนไลน์และออฟไลน์เพื่อผู้สูงวัย เป็นต้น
ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นในขณะที่ยังไม่มีเงินเพียงพอสำหรับใช้ชีวิตหลังจากเกษียณอายุการทำงาน รายงานปี 2019 ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติสำรวจพบว่าผู้สูงอายุไทยไม่มีรายได้ร้อยละ 21.1 และรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปีร้อยละ 84.2 มีเงินออมน้อย และยังเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดในอนาคต
ความเป็นห่วงและต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยเฉพาะฐานะทางเศรษฐกิจและสุขภาพ ทำให้ยังแฮปปี้ตั้งเป้าหมายทางสังคม คือต้องการสร้างพื้นที่กิจกรรมเพื่อยืดเวลาช่วงสุขภาพแข็งแรงของผู้สูงวัยให้ยาวนานขึ้น นอกจากจะทำให้ตัวผู้สูงวัยมีสุขภาพกายและจิตดีแล้ว ในด้านสังคมยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์และลดภาระด้านงบประมาณและกำลังแรงงานผู้ดูแลให้กับสังคม
คนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ต้องการเข้ามาช่วยแต่เจอกับปัญหาการปรับตัวด้านเทคโนโลยีของผู้สูงวัย เช่นการไม่สามารถใช้ smart phone และระบบออนไลน์ต่าง ๆ ปัญหานี้ทำให้ผู้สูงวัยบางคนรู้สึกแปลกแยกจากลูกหลานและสังคมยุคดิจิทัล การเข้าถึงกลุ่มผู้สูงวัยจึงทำได้ยาก ยังแฮปปี้จึงได้สร้างชุมชนออนไลน์เพื่อสอนวิธีการใช้ smart phone และ application ต่าง ๆ ให้กับผู้สูงวัย ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน เช่น การใช้ LINE และ Facebook ซึ่งได้รับผลตอบรับดี ผู้สูงวัยสามารถสื่อสารกับครอบครัวได้ดียิ่งขึ้น ส่วนในระดับกลาง เช่น การขายของออนไลน์ การเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ก็สามารถช่วยส่งเสริมการสร้าง active aging และระดับสูง เช่น การสร้าง active aging ระดับสูงโดยการสร้างจิตอาสา เป็นการสร้างผู้สูงวัยระดับแนวหน้าเพื่อการดูแลผู้สูงวัยด้วยกันเอง ขณะเดียวกัน ยังแฮปปี้ต้องบริหารเงินเพื่อให้มีเงินหมุนในการทำกิจการต่าง ๆ โดยมีแหล่งที่มาจากเงินสนับสนุน CSR ของบริษัท จากองค์กรของรัฐ การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น เนื่องจากรายได้หลักของยังแฮปปี้ไม่ได้มาจากการบริจาค ทำให้ยังแฮปปี้มีอิสระในการบริหารเงิน สามารถสร้างผลตอบแทนสู่สังคมไทยยุคสูงวัยได้อย่างยั่งยืน นี่คือหนึ่งในตัวอย่างธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อสังคมที่ยั่งยืนของไทย...
แหล่งข้อมูล
วรเทพ พูลสวัสดิ์
บุรเทพ โชคธนานุกูล
สุชาดา ทวีสิทธิ์
สิรินทร์ยา พูลเกิด
ณปภัช สัจนวกุล
มนสิการ กาญจนะจิตรา
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ณัฐณิชา ลอยฟ้า
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
มนสิการ กาญจนะจิตรา
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ณัฐนี อมรประดับกุล,ณปภัช สัจนวกุล
อมรา สุนทรธาดา
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปัณณวัฒน์ เถื่อนกลิ่น
เจษฎา บัวบาล
วรรณี หุตะแพทย์
มนสิการ กาญจนะจิตรา
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
สุดปรารถนา ดวงแก้ว
ภูเบศร์ สมุทรจักร
พรสุรีย์ จิวานานนท์
สักกรินทร์ นิยมศิลป์
กาญจนา เทียนลาย
ณปภัช สัจนวกุล
สิรินทร์ยา พูลเกิด
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
ภูเบศร์ สมุทรจักร
วรเทพ พูลสวัสดิ์
สิรินทร์ยา พูลเกิด
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
วรชัย ทองไทย
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
ปราโมทย์ ประสาทกุล
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ปราโมทย์ ประสาทกุล
เพ็ญพิมล คงมนต์
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
มนสิการ กาญจนะจิตรา