ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุ อาจนำไปสู่การขาดแคลนประชากรวัยแรงงานในอนาคต ทำให้มีแนวโน้มความต้องการแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านสูง ซึ่งเมื่อแรงงานย้ายถิ่นเข้ามาทำงานในประเทศส่งผลให้มีผู้ติดตามเข้ามาด้วย หรือหากเป็นแรงงานที่อยู่นานจะมีลูกหลานเกิดในประเทศไทย เด็กที่เป็นผู้ติดตามหรือเกิดจากแรงงานข้ามชาติหากอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ในการทำงานเรียกว่าเด็กข้ามชาติ การแบ่งกลุ่มอายุของเด็กข้ามชาติใน “โครงการการประเมินสถานการณ์เด็กข้ามชาติในประเทศไทยและผลกระทบของโควิด-19” แบ่งกลุ่มอายุของเด็กข้ามชาติออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) อายุ 0-5 ปี 2) อายุ 6-11 ปี และ 3) อายุ 12-17 ปี หากกล่าวถึงกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี เป็นช่วงแรกเกิดจนถึงก่อนวัยเรียน ความจำเป็นเกี่ยวกับสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นด้านการได้รับวัคซีนที่ครบถ้วนเหมาะสมตามอายุเด็ก การดูแลส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการสำหรับเด็กวัยนี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่สุด ดังนั้นการมีหลักประกันทางสุขภาพและการเข้าถึงบริการสุขภาพเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากสำหรับเด็กวัยนี้
ระบบหลักประกันสุขภาพสำหรับเด็กข้ามชาติในประเทศไทยมี 3 ระบบ คือ หนึ่ง บัตรประกันสุขภาพโดยกระทรวงสาธารณสุข แบ่งตามอายุ คือ สำหรับเด็กข้ามชาติอายุต่ำกว่า 7 ปี ซึ่งจะขายในราคา 365 บาท บัตรมีอายุ 1 ปี ถ้าต้องการบัตร 2 ปี ราคาอยุ่ที่ 730 บาท สำหรับเด็กอายุ 7 ปีขึ้นไป จะอยู่ที่ราคา 1,600 บาทต่อปี จะเป็นราคาเท่าบัตรผู้ใหญ่ สำหรับสิทธิประโยชน์จะได้สิทธิ์การรักษาพยาบาลรวมถึงการส่งเสริมสุขภาพ เช่น การฉีดวัคซีน และการดูแลสุขภาพตามกลุ่มวัย สอง บัตรประกันสุขภาพโดยองค์กรทางสังคม เช่น M-Fund จะมีดำเนินการเป็นบางพื้นที่เท่านั้น เช่น อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งมีการขายหลายแพคเกจด้วยกัน เช่น กลุ่มนักเรียน กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มแรงงานในโรงงาน และแพคเกจครอบครัว ลักษณะการจ่ายค่าบัตรประกันจะจ่ายเป็นรายเดือน และ สาม ประกันสุขภาพเอกชน หรือ ประกันสุขภาพจากนายจ้างของพ่อแม่ซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติและบางกรณีครอบคลุมลูกด้วย
เด็กข้ามชาติส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีหลักประกันสุขภาพ หรือถ้ามีก็ยังมีค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่เป็นบัตรประกันสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งในกลุ่มเด็กเล็กราคาบัตรไม่สูงมาก โดยเฉพาะบัตรประกันสุขภาพ 1 ปี ราคา 365 บาท พ่อแม่ผู้ปกครองพอจะมีกำลังที่สามารถที่จะจ่ายได้ แต่บัตรประกันสุขภาพ 2 ปี ที่ราคา 730 บาท พ่อแม่อาจจะมองว่าราคาสูงไป ซื้อบัตรปีเดียวแล้วค่อยซื้อใหม่ดีกว่าในปีถัดไปเพราะราคาเท่ากัน ดังนั้นบัตรประกันสุขภาพ 730 บาท จึงไม่เป็นที่นิยมซื้อในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
จากสถานการณ์โควิด-19 ครอบครัวแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยพ่อแม่ผู้ปกครองต้องโดนสั่งหยุดการทำงานเกิดผลกระทบด้านการเงินของครอบครัว ไม่มีเงินที่จะต่ออายุบัตรประกันสุขภาพหรือซื้อประกันให้กับลูกหลาน สำหรับการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติยุคโควิด-19 มีการบังคับตรวจโควิดอีกด้วย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง การซื้อบัตรประกันสุขภาพแรงงานข้ามชาติเองต้องตรวจโควิด-19 ด้วย โดยรวมแล้วค่าบัตรในแต่ละประเภทมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากและเป็นภาระของครอบครัวแรงงานข้ามชาติ
ที่มา: โครงการการประเมินสถานการณ์เด็กข้ามชาติในประเทศไทยและผลกระทบของโควิด-19
จาก http://report.dopa.go.th/covid19/ita_files/document/command145.pdf
ครอบครัวแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับหัวหน้าครัวเรือนหรือผู้ที่ทำงานหารายได้มาเลี้ยงจุนเจือครอบครัว จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังต้องอยู่กันไปอีกนาน เป็นไปได้ที่แรงงานข้ามชาติจะซื้อประกันสุขภาพให้กับหัวหน้าครอบครัวหรือผู้ที่ทำงานหาเลี้ยงครอบครัวก่อน การซื้อบัตรประกันสุขภาพสำหรับเด็กอาจจะเป็นประเด็นรองลงมา ซึ่งอาจทำให้การซื้อบัตรสุขภาพสำหรับเด็กลดลงไปอีก จะทำให้เด็กข้ามชาติเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นสำหรับเด็ก ถือเป็นความเปราะบางทางด้านสุขภาพอย่างมากสำหรับเด็กวัยนี้
รีนา ต๊ะดี
ปรียา พลอยระย้า
วรชัย ทองไทย
ปราโมทย์ ประสาทกุล
มนสิการ กาญจนะจิตรา
สุริยาพร จันทร์เจริญ
ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ศุทธิดา ชวนวัน
กาญจนา เทียนลาย
ขวัญชนก ใจซื่อกุล
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
ปรียา พลอยระย้า
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
อมรา สุนทรธาดา
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
สุภาณี ปลื้มเจริญ
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
มนสิการ กาญจนะจิตรา
พิมลพรรณ นิตย์นรา
โรยทราย วงศ์สุบรรณ
สักกรินทร์ นิยมศิลป์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
กฤตยา อาชวนิจกุล,สักกรินทร์ นิยมศิลป์
ณปภัช สัจนวกุล
นงเยาว์ บุญเจริญ
สักกรินทร์ นิยมศิลป์
อารี จำปากลาย
ศุทธิดา ชวนวัน
บุรเทพ โชคธนานุกูล
ฉัตรชัย วัฒนไชยประทีป
อมรา สุนทรธาดา
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
อมรา สุนทรธาดา
ภัสสร มิ่งไธสง
ปัณณวัฒน์ เถื่อนกลิ่น
ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์,สิรินทร์ยา พูลเกิด
ณัฐพร โตภะ
เพ็ญพิมล คงมนต์
บุรเทพ โชคธนานุกูล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
ดนุสรณ์ โพธารินทร์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
วรชัย ทองไทย
ศิรดา เขมานิฏฐาไท
วิภาพร จารุเรืองไพศาล
กุลภา วจนสาระ
สาสินี เทพสุวรรณ์